2011年1月31日星期一

ท่าเรือเมืองต้าเหลียน

สภาพโดยทั่วไป
       ท่าเรือต้าเหลียนตั้งอยู่ในทางตอนใต้ภายในอ่าวต้าเหลียน แหลมเหลียงตง มีความกว้างของท่าเรือและมีระดับน้ำที่ลึกสะดวกต่อการเดินเรือ สามารถเดินเรือได้แม้ในฤดูหนาว ท่าเรือต้าเหลียนจัดเป็นเส้นทางเดินเรือแห่งสุดท้ายของเส้นทางสายฮาร์บิน-ต้าเหลียน นอกจากนี้ยังจัดเป็นท่าเรือสำคัญที่มีผลต่อเศรษฐกิจในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ซึ่งใช้ในการขนส่งสินค้าขึ้นมายังภาคเหนือตอนบนของจีน และยังจัดเป็นหนึ่งในท่าเรือที่มีความสำคัญของจีนสิบแห่งอีกด้วย 
       ท่าเรือต้าเหลียนให้บริการที่เชื่อมต่อในการขนส่งสินค้าประเภทคอนเทนเนอร์ไปยังตอนในของประเทศจีน โดยมีเส้นทางเชื่อมต่อมากกว่า 85 เส้นทาง มีการเดินเรือมากถึง 300 เที่ยวต่อเดือน และมีปริมาณสินค้านำเข้าและส่งออกของตู้คอนเทนเนอร์ของทั้งสามมณฑลทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือที่นำมาพักไว้ยังท่าเรือดังกล่าวมากถึง 90% ทำให้ท่าเรือต้าเหลียนกลายเป็นท่าเรือสำหรับสินค้าประเภทคอนเทนเนอร์ที่สำคัญที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน และยังเป็นจัดขนถ่ายสินค้าประเภทคอนเทนเนอร์ที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศจีนโดยสามารถเชื่อมต่อกับทางรถไฟที่มีไว้แล้วในการลำเลียงสินค้าไปสู่มณฑลอื่นต่อไป นับแต่มีการเปิดให้บริการมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2523 จนถึงปีพ.ศ.2535 ท่าเรือต้าเหลียนมีท่าเรือทั้งหมด 24 แห่ง ท่าเทียบเรือ(Berth) 108ท่า ทั้งนี้ปริมาณท่าเทียบเรือที่รองรับเรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่มากกว่า10,000 ตันมากกว่า 37 ท่า ปริมาณสินค้ารวมทั้งสิ้น 60,000,000 ตัน จากอ่าวต้าถงถึงเหล่าหู่ทานมีระยะทางเลียบชายฝั่งประมาณ 100 กิโลเมตร โดยทุกๆระยะ 4 กิโลเมตร นับเป็นท่าเรือที่มีระยะห่างกันน้อย
ที่สุดในประเทศจีน
      ท่าเรือต้าเหลียนเน้นการพัฒนาท่าเรือโดยใช้ยุทธศาสตร์ให้เป็นศูนย์กลางการจัดส่งสินค้าเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ โดยภายในปีพ.ศ.2551 ปริมาณสินค้าทั้งหมดของท่าเรือต้าเหลียน 246,000,000 ตัน เพิ่มขึ้นจากเดิม 10.3% ปริมาณตู้คอนเทนเนอร์รวมทั้งสิ้น 4,525,000 ตู้ เพิ่มขึ้นจากเดิม 18.7% ปริมาณตู้คอนเทนเนอร์ขนส่งภายในประเทศเพิ่มขึ้นจากเดิม 59.7% ทำให้ท่าเรือต้าเหลียนมีปริมาณตู้คอนเทนเนอร์ของสินค้าผ่านมากที่สุดเป็นอันดับสองของประเทศจีน และยังพบว่าปริมาณผู้โดยสารผ่านยังสนามบินต้าเหลียนมากกว่า 8,000,000 คน ปริมาณสินค้าขนส่งผ่านทางสนามบินต้าเหลียน 130,000 ตัน มีเส้นทางสายการบินเป็นอันดับที่สี่ของโลก

ข้อมูลสภาพทั่วไปของท่าเรือต้าเหลียนประกอบการเดินเรือ
   สภาพลม :  ได้รับอิทธิพลจากกระแสลมทางทิศเหนือและค่อนไปทางทิศเหนือในฤดูหนาว และได้รับอิทธิพลจากกระแสลมทางทิศใต้และทิศตะวันออกเฉียงใต้ในฤดูร้อน ความแรงลมระดับ 7 หรือสูงขึ้นไป เฉลี่ยประมาณ 8 วันต่อปี ลมมรสุมโดยเฉลี่ย 1-2 ครั้งต่อปี มีผลกระทบน้อยต่อการเดินเรือ
   ปริมาณฝน :  ปริมาณน้ำฝนที่ตกตลอดปีวัดได้ 659 มิลลิเมตร โดยปริมาณฝนที่ตกมากที่สุดในช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน คิดเป็นปริมาณฝนตกทั้งหมด 2/3 ของปี
    สภาพหมอก : พบหมอกปกคลุมมากที่สุดในช่วงเดือนมีนาคม-สิงหาคม เฉลี่ยประมาณ 31.6 และ 55 วันต่อปี สามารถมองเห็นได้ในระยะไม่เกิน 1 กิโลเมตร
    อุณหภูมิ : อุณหภูมิโดยเฉลี่ยต่อปีประมาณ 10.2 องศา อุณหภูมิสูงสุดต่อปี 35.3 องศา และอุณหภูมิต่ำสุดต่อปีที่ -20.1องศา ทั้งนี้ในฤดูหนาว บริเวณรอบๆ ท่าเรือมีน้ำแข็งประมาณ 5-20 และ 25-30 เซนติเมตร ซึ่งไม่มีผลกระทบต่อการเดินเรือแต่อย่างใด
    ระดับน้ำขึ้น :  ความต่างระหว่างน้ำขึ้นน้ำลงสูงสุด 2.9 เมตร ต่ำสุดที่ 2.3 เมตร อัตราการไหลของน้ำที่ 0.64-0.32 เมตรต่อวินาทีและ 0.57-0.29 เมตรต่อวินาที
    ภายในท่าเรือต้าเหลียนทั้งหมดมีเส้นทางเดินเรือทั้งหมด 7 เส้นทาง โดยเส้นทางต้ากั่งอยู่บริเวณทางทิศตะวันตกของท่าเรือต้ากั่ง ทิศทาง 110° (290°) ระดับน้ำลึกที่ 10 เมตร เส้นทางเดินเรือซื่อเอ๋อโกว มีทั้งหมด 2  เส้นทาง ตั้งอยู่ระหว่างพื้นที่ขนานชายฝั่งของท่าเรือซื่อเอ๋อโกวแห่งที่ 1 บริเวณเขตสิ้นสุดของท่าเรือเชื่อมต่อกับเส้นทางเดินเรือต้ากั่งทางตอนเหนือ ทิศทาง 24° (216°) ระดับน้ำลึกที่ 9.5 เมตร เส้นทางเดินเรือกานจิ่งจรือ ต่างอยู่ห่างจากเส้นทางเดินเรือต้ากั่ง ประมาณ  2 ไมล์ทะเล
    ทิศทางของเส้นทางเดินเรือคือ 90° (270°) ระดับน้ำลึกที่ 9.0 เมตร เส้นทางเดินเรือของบริษัทเซียงฮู เจียวพอร์ตจำกัดเชื่อมต่อกับเส้นทางเดินเรือกานจิ่งจรือ ทิศทาง 47°(227°) ระดับน้ำลึก  9.0  เมตร
     เส้นทางเดินเรืออ่าวจ้านหยี (zhan yu) พิกัด 95°(270°) ระดับน้ำลึก 17.5 เมตร โดยมีเส้นทางจากท่าเรือใหม่เติงหลูที่ 1 ท่าเรือใหม่เติงหลูที่ 3 ท่าเรือเหอซ่างเต่า เริ่มจากที่จอดสมอเรือเติงหลูแห่งที่  11  ถึงท่าเรือเติงหลูแห่งที่ 15 พิกัด 170° (350°) พิกัดจากเส้นทางเดินเรือของท่าเรือเติงหลูแห่งที่ 15-18 ที่ 150° (330°) ระดับน้ำลึก  9.1  เมตร ความยาวของเส้นทางเดินเรือรวม 13.5 กิโลเมตร

ศักยภาพในการรองรับ
     ในปี พ.ศ.2552 มีการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรของท่าเรือเทียนจินมากกว่า 8,400,000,000 หยวน มีท่าเทียบเรือแห่งใหม่(Berth)เพิ่มขึ้น 12 แห่ง โดยท่าเรือแห่งใหม่มีศักยภาพในการรองรับสินค้ากว่า 13,290,000 ตัน รองรับตู้คอนเทนเนอร์ได้มากกว่า 1,200,000 ตู้  นอกจากนี้ภายในบริเวณอ่าวต้าถงเฟสที่2 ก็ได้ทำการก่อสร้างท่าเทียบเรือ(Berth) หมายเลข 15,16 เริ่มก่อสร้างท่าเทียบเรือคอนเทนเนอร์หมายเลขที่ 17,18 เฟสที่ 3 อีกด้วย และมีการก่อสร้างท่าเรือน้ำมันดิบที่รองรับเรือบรรทุกสินค้าที่มีขนาด 300,000 ตัน ก็มีความคืบหน้าในการก่อสร้างไปได้ด้วยดี
     นอกเหนือไปจากนั้น ท่าเรือต้าเหลียนก็ได้มีการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานภายในท่าเรือและพัฒนาระบบการขนส่งและกระจายสินค้าอีกด้วย โดยได้เริ่มพัฒนาเส้นทางเดินเรือทางทิศเหนือของบริเวณอ่าวต้าถง และทำการพัฒนาเส้นทางเดินเรือสาธารณะเฟสที่ 1 ในบริเวณท่าเรือฉางซิ่งเต่าและเน้นการก่อสร้างเขื่อนกั้นน้ำทางตอนเหนือให้แล้วเสร็จ เส้นทางรถไฟรางคู่จินถงสามารถเปิดให้บริการได้ พัฒนาและเร่งผลักดันการก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายฉางซิ่งเต่าและเส้นทางรถไฟสายต้าเหลียนวาน
     การตรวจสอบระบบภายในท่าเรือต้าถงวาน การเริ่มระบบกำกับควบคุมบริเวณท่าเรือและระบบวิดีโอเพื่อการควบคุมความปลอดภัย เพื่อพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันของศูนย์การขนส่งระหว่างประเทศให้เข้มแข็งขึ้น
     ภายใต้การนำของรัฐบาลเพื่อกำหนดจุดยืนในการพัฒนาท่าเรือต้าเหลียนอย่างเป็นรูปธรรม การกำหนดหลักในการพัฒนาท่าเรือต้าเหลียน การกำหนดแนวทางพัฒนาของท่าเรือใหญ่และเล็กที่แน่นอน โดยได้จัดแผนการพัฒนาท่าเรือฉางซิ่งเต่า อ่าวหลี่ซุ่นซวงเต่า พื้นที่หยางโถวเจีย พื้นที่ท่าเรือจวงเหอ ภายใต้การควบคุมของท่าเรือต้าเหลียน  นอกจากนี้ยังต้องยึดแนวทางการพัฒนาที่ประกาศโดยสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยแผนพัฒนาศูนย์กลางการขนส่งแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ ท่าเรือต้าเหลียน เน้นความร่วมมือทางยุทธศาสตร์กับท่าเรือเหมียนโจว หูลูโจวอีกด้วย  ทั้งนี้บริษัทท่าเรือต้าเหลียนกรุ๊ปได้เข้าซื้อหุ้นท่าเรือเหมียนโจว โดยกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นอันดับสองของเหมียนโจว กรุ๊ป อีกด้วย  โดยท่าเรือทั้งสองแห่งยังได้ร่วมมือกันพัฒนาท่าเรือถ่านหินขนาด 500,000,000 ตัน  และร่วมพัฒนาควบคู่ไปกับท่าเรือตานตงอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อยึดท่าเรือต้าเหลียนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาอีกด้วย
     ท่าเรือต้าเหลียนจัดเป็นฐานการกระจายและเป็นโกดังจุดพักสินค้าเหลวและน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีน โดยมีท่าเรือขนส่งน้ำมันดิบที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดและขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศจีนซึ่งมีศักยภาพสามารถรองรับเรือบรรทุกสินค้ามากกว่า 300,000 ตัน มีเรือขนาดใหญ่สำหรับลำเลียง VCCL ที่มีศักยภาพรองรับกว่า 57,000,000ตันต่อปี ทั้งนี้ท่าเรือน้ำลึกขนส่งน้ำมันดิบแห่งใหม่ที่กำลังดำเนินการก่อสร้างอยู่นั้นมีระดับความลึกของน้ำที่ 27 เมตร สามารถจอดเรือบรรทุกน้ำมันขนาดใหญ่ 500,000 ตันได้
     ท่าเรือต้าเหลียนยังเป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าประเภทแร่ธาตุทางภาคเหนือของจีน โดยมีท่าเรือสำหรับรองรับเรือบรรทุกแร่ธาตุที่มีปริมาณ 300,000 ตัน ซึ่งจัดเป็นท่าเรือที่มีขนาดใหญ่และใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยแห่งหนึ่งของประเทศจีน โดยความลึกของน้ำที่ 23เมตร ท่าเรือสามารถจุได้ 6,000,000 ตัน สามารถลำเลียงสินค้าขึ้นฝั่งได้ที่ปริมาณ 7,000 ตันต่อชั่วโมง สามารถลำเลียงสินค้าลงเรือได้ 4,500 ตันต่อชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีศูนย์พักสินค้าผ่านทางและศูนย์สินค้าปลอดภาษี และมีการขยายขอบเขตการบริการไปจนถึงอ่าวป๋อไฮ่อีกด้วย (Bohai Bay)
     ท่าเรือต้าเหลียนเป็นศูนย์พักสินค้าผ่านประเภทเทกองที่มีความสำคัญแห่งหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โกดังสินค้าเพียงพอต่อการบรรจุ เครื่องจักรในการลำเลียงสินค้าที่มีความทันสมัย และลานสำหรับจัดวางสินค้า และการกำหนดสถานที่ของรถไฟ กำหนดเส้นทางรถไฟ และกำหนดขบวนรถไฟ เพื่อให้มีการเชื่อมต่อการขนส่งกับเรือบรรทุกสินค้าทางทะเล โดยพัฒนาเป็นระบบให้บริการด้านโลจิสติกส์ที่ครบวงจร โดยคาดว่าภายในปีพ.ศ.2553 จะสามารถรองรับปริมาณสินค้าได้ 30,000,000 ตัน
     ท่าเรือต้าเหลียนยังเป็นศูนย์กลางสำหรับสินค้าผ่านประเภทอาหารที่มีความสามารถในการแข่งขันสูงทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีน มีระบบคอมพิวเตอร์สำหรับควบคุมท่าเทียบเรือสินค้าเทกองประเภทอาหารที่รองรับเรือสินค้าขนาด 80,000 ตัน มีไซโลกว่า 100 แห่งสำหรับบรรจุสินค้าเทกองประเภทอาหารกว่า 800,000 ตัน โดยสามารถขนส่งสินค้าได้กว่า 1,000 ตันต่อชั่วโมง โดยมีศักยภาพในการลำเลียงสินค้าประเภทข้าวสารทั้งนำเข้าประมาณ 3,000,000 ตัน สินค้าข้าวสารส่งออกประมาณ 10,000,000 ตัน เพื่อให้บริการโลจิสติกส์อาหารประเภทเทกองได้อย่างเต็มรูปแบบ
     ท่าเรือต้าเหลียนยังเป็นศูนย์กลางการขนส่งแบบ Ro-pax บริเวณท่าเรือป๋อไฮ่ Seamless Transportation System of Ro-pax Vessels Around Bohai Sea และศูนย์กระจายรถยนต์ของเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีปริมาณผู้โดยสารต่อปี 6,000,000 คน และปริมาณขนส่งรถยนต์กว่า 1,000,000 คัน
     ปัจจุบันมีท่าเรือสำหรับรถยนต์  (Profession TerminalAutomotive) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศจีน สามารถรองรับเรือบรรทุกสินค้าประเภทรถยนต์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยคาดว่าจะสามารถรองรับปริมาณรถยนต์มากกว่า 760,000 คันต่อปี
     ท่าเรือต้าเหลียนมีการผลิตสินค้าภายในบริเวณท่าเรือได้แก่ การต่อเรือ การแปรรูปน้ำมัน การผลิตเครื่องจักร แปรรูปไม้ แปรรูปกระดาษ สิ่งทอ และอิเลคโทรนิค โดยท่าเรือต้าเหลียนจัดเป็นท่าเรือฐานการผลิตสิ่งทอที่ใหญ่เป็นอันดับ 1 ใน 7 ของประเทศจีน และฐานผลิตเสื้อผ้าใหญ่ใหญ่เป็นอันดับ 1 ใน 4 ของประเทศจีนอีกด้วย

ความสะดวกในการขนถ่ายสินค้า ทำเลที่ตั้ง
       อ้างตามแผนพัฒนาหลักของท่าเรือต้าเหลียนได้รับการอนุมัติทั้งจากกระทรวงคมนาคมและรัฐบาลมณฑลเหลียวหนิงในการพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการขนส่งระหว่างประเทศของเมืองต้าเหลียนซึ่งมีส่วนช่วยให้การขนส่งมาความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้แผนโลจิสติกส์รูปแบบใหม่ได้มีการปรับปรุงและแก้ไขโดยนำเอาแผนพัฒนาธุรกิจด้านโลจิสติกส์ในรูปแบบใหม่ของเมืองต้าเหลียนและแผนพัฒนาเฉพาะด้านโกดังสินค้าของเมืองต้าเหลียนออกมาเป็นวิธีการหลัก    รูปแบบข้อมูลข่าวสารโลจิสติกส์สาธารณะของเมืองต้าเหลียน เพื่อดำเนินแผนการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับพนักงานด้านโลจิสติกส์ สร้างความเข้มแข็งในการประสานและเชื่อมต่อกับสวนโลจิสติกส์ในเขตเมืองทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สร้างท่าเรือบกที่มีขนาดใหญ่ทีสุดในประเทศจีนให้แล้วเสร็จ ได้แก่สถานีสินค้าตะวันออกเมืองเสิ่นหยาง ท่าเรือบกฉางชุน ศูนย์กลางการกระจายสินค้าประเภทคอนเทนเนอร์ทางรถไฟเมืองฮาร์บิน ท่าเรือบกจี๋หลิน โดยเน้นการเชื่อมต่อกับ  14 ท่าเรือบกสำคัญในทิศตะวันออกเฉีบงเหนือของจีน เพิ่มปริมาณเส้นทางขนส่งคอนเทนเนอร์ระหว่างเมืองต้าเหลียน-เสิ่นหยาง ต้าเหลียน-ฉางชุน ต้าเหลียน-ฮาร์บิน ต้าเหลียน-หมานโจวและเส้นทางอื่นๆ อีกกว่า 7 เส้นทาง ทั้งนี้คาดการณ์ว่าจะมีปริมาณขนส่งสินค้าคอนเทนเนอร์ทางรถไฟกว่า 235,000 TEU เพิ่มขึ้นจากเดิม 30%
       ปัจจุบันท่าเรือต้าเหลียนมีความร่วมมือที่ดีกับท่าเรือในประเทศญี่ปุ่นได้แก่ท่าเรือโยโกฮามา ท่าเรือฟูชิกิ ท่าเรือประเทศสหรัฐอเมริกา โอคแลนด์ ท่าเรือฮูสตัน ท่าเรือประเทศแคนาดาเช่น ท่าเรือแวนคูเวอร์ ท่าเรือวาดิเวอร์สต็อค ประเทศรัสเซีย และท่าเรือในประเทศอาทิ ท่าเรือเซินเจิ้นเป็นต้น

 
สินค้านำเข้าและส่งออก
        ปัจจุบันสินค้าที่นำเข้าและส่งออกไปยังท่าเรือต้าเหลียนได้แก่ น้ำมัน เหล็กกล้า ข้าวโพด วัสดุก่อสร้างประเภทไม้ ถ่านหิน ธัญพืช เกลือ แร่ธาตุที่ยังไม่ได้แปรรูป โซดาบริสุทธิ์ และสินค้าอื่นๆ ได้แก่สินค้าอิเลคโทรนิค แร่ธาตุโลหะ สิ่งทอ วาล์ว  และสินค้าประเภทคอนเทนเนอร์ โดยสินค้าหลักของท่าเรือต้าเหลียนแบ่งเป็น 5 ประเภทใหญ่ได้แก่ น้ำมันดิบ อาหาร แร่โลหะ เหล็กกล้า และถ่านหิน

แหล่งทอ่งเที่อยวต้าเหลียน
จัตุรัสไห่จือยุ่น

สวนสาธาณเหล่าวหู่มีสาย 
ขนส่งนักทอ่งเที่ยวสายแรกของจีน   ประมาณ600เมตร