2011年1月31日星期一

ท่าเรือเมืองต้าเหลียน

สภาพโดยทั่วไป
       ท่าเรือต้าเหลียนตั้งอยู่ในทางตอนใต้ภายในอ่าวต้าเหลียน แหลมเหลียงตง มีความกว้างของท่าเรือและมีระดับน้ำที่ลึกสะดวกต่อการเดินเรือ สามารถเดินเรือได้แม้ในฤดูหนาว ท่าเรือต้าเหลียนจัดเป็นเส้นทางเดินเรือแห่งสุดท้ายของเส้นทางสายฮาร์บิน-ต้าเหลียน นอกจากนี้ยังจัดเป็นท่าเรือสำคัญที่มีผลต่อเศรษฐกิจในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ซึ่งใช้ในการขนส่งสินค้าขึ้นมายังภาคเหนือตอนบนของจีน และยังจัดเป็นหนึ่งในท่าเรือที่มีความสำคัญของจีนสิบแห่งอีกด้วย 
       ท่าเรือต้าเหลียนให้บริการที่เชื่อมต่อในการขนส่งสินค้าประเภทคอนเทนเนอร์ไปยังตอนในของประเทศจีน โดยมีเส้นทางเชื่อมต่อมากกว่า 85 เส้นทาง มีการเดินเรือมากถึง 300 เที่ยวต่อเดือน และมีปริมาณสินค้านำเข้าและส่งออกของตู้คอนเทนเนอร์ของทั้งสามมณฑลทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือที่นำมาพักไว้ยังท่าเรือดังกล่าวมากถึง 90% ทำให้ท่าเรือต้าเหลียนกลายเป็นท่าเรือสำหรับสินค้าประเภทคอนเทนเนอร์ที่สำคัญที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน และยังเป็นจัดขนถ่ายสินค้าประเภทคอนเทนเนอร์ที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศจีนโดยสามารถเชื่อมต่อกับทางรถไฟที่มีไว้แล้วในการลำเลียงสินค้าไปสู่มณฑลอื่นต่อไป นับแต่มีการเปิดให้บริการมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2523 จนถึงปีพ.ศ.2535 ท่าเรือต้าเหลียนมีท่าเรือทั้งหมด 24 แห่ง ท่าเทียบเรือ(Berth) 108ท่า ทั้งนี้ปริมาณท่าเทียบเรือที่รองรับเรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่มากกว่า10,000 ตันมากกว่า 37 ท่า ปริมาณสินค้ารวมทั้งสิ้น 60,000,000 ตัน จากอ่าวต้าถงถึงเหล่าหู่ทานมีระยะทางเลียบชายฝั่งประมาณ 100 กิโลเมตร โดยทุกๆระยะ 4 กิโลเมตร นับเป็นท่าเรือที่มีระยะห่างกันน้อย
ที่สุดในประเทศจีน
      ท่าเรือต้าเหลียนเน้นการพัฒนาท่าเรือโดยใช้ยุทธศาสตร์ให้เป็นศูนย์กลางการจัดส่งสินค้าเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ โดยภายในปีพ.ศ.2551 ปริมาณสินค้าทั้งหมดของท่าเรือต้าเหลียน 246,000,000 ตัน เพิ่มขึ้นจากเดิม 10.3% ปริมาณตู้คอนเทนเนอร์รวมทั้งสิ้น 4,525,000 ตู้ เพิ่มขึ้นจากเดิม 18.7% ปริมาณตู้คอนเทนเนอร์ขนส่งภายในประเทศเพิ่มขึ้นจากเดิม 59.7% ทำให้ท่าเรือต้าเหลียนมีปริมาณตู้คอนเทนเนอร์ของสินค้าผ่านมากที่สุดเป็นอันดับสองของประเทศจีน และยังพบว่าปริมาณผู้โดยสารผ่านยังสนามบินต้าเหลียนมากกว่า 8,000,000 คน ปริมาณสินค้าขนส่งผ่านทางสนามบินต้าเหลียน 130,000 ตัน มีเส้นทางสายการบินเป็นอันดับที่สี่ของโลก

ข้อมูลสภาพทั่วไปของท่าเรือต้าเหลียนประกอบการเดินเรือ
   สภาพลม :  ได้รับอิทธิพลจากกระแสลมทางทิศเหนือและค่อนไปทางทิศเหนือในฤดูหนาว และได้รับอิทธิพลจากกระแสลมทางทิศใต้และทิศตะวันออกเฉียงใต้ในฤดูร้อน ความแรงลมระดับ 7 หรือสูงขึ้นไป เฉลี่ยประมาณ 8 วันต่อปี ลมมรสุมโดยเฉลี่ย 1-2 ครั้งต่อปี มีผลกระทบน้อยต่อการเดินเรือ
   ปริมาณฝน :  ปริมาณน้ำฝนที่ตกตลอดปีวัดได้ 659 มิลลิเมตร โดยปริมาณฝนที่ตกมากที่สุดในช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน คิดเป็นปริมาณฝนตกทั้งหมด 2/3 ของปี
    สภาพหมอก : พบหมอกปกคลุมมากที่สุดในช่วงเดือนมีนาคม-สิงหาคม เฉลี่ยประมาณ 31.6 และ 55 วันต่อปี สามารถมองเห็นได้ในระยะไม่เกิน 1 กิโลเมตร
    อุณหภูมิ : อุณหภูมิโดยเฉลี่ยต่อปีประมาณ 10.2 องศา อุณหภูมิสูงสุดต่อปี 35.3 องศา และอุณหภูมิต่ำสุดต่อปีที่ -20.1องศา ทั้งนี้ในฤดูหนาว บริเวณรอบๆ ท่าเรือมีน้ำแข็งประมาณ 5-20 และ 25-30 เซนติเมตร ซึ่งไม่มีผลกระทบต่อการเดินเรือแต่อย่างใด
    ระดับน้ำขึ้น :  ความต่างระหว่างน้ำขึ้นน้ำลงสูงสุด 2.9 เมตร ต่ำสุดที่ 2.3 เมตร อัตราการไหลของน้ำที่ 0.64-0.32 เมตรต่อวินาทีและ 0.57-0.29 เมตรต่อวินาที
    ภายในท่าเรือต้าเหลียนทั้งหมดมีเส้นทางเดินเรือทั้งหมด 7 เส้นทาง โดยเส้นทางต้ากั่งอยู่บริเวณทางทิศตะวันตกของท่าเรือต้ากั่ง ทิศทาง 110° (290°) ระดับน้ำลึกที่ 10 เมตร เส้นทางเดินเรือซื่อเอ๋อโกว มีทั้งหมด 2  เส้นทาง ตั้งอยู่ระหว่างพื้นที่ขนานชายฝั่งของท่าเรือซื่อเอ๋อโกวแห่งที่ 1 บริเวณเขตสิ้นสุดของท่าเรือเชื่อมต่อกับเส้นทางเดินเรือต้ากั่งทางตอนเหนือ ทิศทาง 24° (216°) ระดับน้ำลึกที่ 9.5 เมตร เส้นทางเดินเรือกานจิ่งจรือ ต่างอยู่ห่างจากเส้นทางเดินเรือต้ากั่ง ประมาณ  2 ไมล์ทะเล
    ทิศทางของเส้นทางเดินเรือคือ 90° (270°) ระดับน้ำลึกที่ 9.0 เมตร เส้นทางเดินเรือของบริษัทเซียงฮู เจียวพอร์ตจำกัดเชื่อมต่อกับเส้นทางเดินเรือกานจิ่งจรือ ทิศทาง 47°(227°) ระดับน้ำลึก  9.0  เมตร
     เส้นทางเดินเรืออ่าวจ้านหยี (zhan yu) พิกัด 95°(270°) ระดับน้ำลึก 17.5 เมตร โดยมีเส้นทางจากท่าเรือใหม่เติงหลูที่ 1 ท่าเรือใหม่เติงหลูที่ 3 ท่าเรือเหอซ่างเต่า เริ่มจากที่จอดสมอเรือเติงหลูแห่งที่  11  ถึงท่าเรือเติงหลูแห่งที่ 15 พิกัด 170° (350°) พิกัดจากเส้นทางเดินเรือของท่าเรือเติงหลูแห่งที่ 15-18 ที่ 150° (330°) ระดับน้ำลึก  9.1  เมตร ความยาวของเส้นทางเดินเรือรวม 13.5 กิโลเมตร

ศักยภาพในการรองรับ
     ในปี พ.ศ.2552 มีการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรของท่าเรือเทียนจินมากกว่า 8,400,000,000 หยวน มีท่าเทียบเรือแห่งใหม่(Berth)เพิ่มขึ้น 12 แห่ง โดยท่าเรือแห่งใหม่มีศักยภาพในการรองรับสินค้ากว่า 13,290,000 ตัน รองรับตู้คอนเทนเนอร์ได้มากกว่า 1,200,000 ตู้  นอกจากนี้ภายในบริเวณอ่าวต้าถงเฟสที่2 ก็ได้ทำการก่อสร้างท่าเทียบเรือ(Berth) หมายเลข 15,16 เริ่มก่อสร้างท่าเทียบเรือคอนเทนเนอร์หมายเลขที่ 17,18 เฟสที่ 3 อีกด้วย และมีการก่อสร้างท่าเรือน้ำมันดิบที่รองรับเรือบรรทุกสินค้าที่มีขนาด 300,000 ตัน ก็มีความคืบหน้าในการก่อสร้างไปได้ด้วยดี
     นอกเหนือไปจากนั้น ท่าเรือต้าเหลียนก็ได้มีการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานภายในท่าเรือและพัฒนาระบบการขนส่งและกระจายสินค้าอีกด้วย โดยได้เริ่มพัฒนาเส้นทางเดินเรือทางทิศเหนือของบริเวณอ่าวต้าถง และทำการพัฒนาเส้นทางเดินเรือสาธารณะเฟสที่ 1 ในบริเวณท่าเรือฉางซิ่งเต่าและเน้นการก่อสร้างเขื่อนกั้นน้ำทางตอนเหนือให้แล้วเสร็จ เส้นทางรถไฟรางคู่จินถงสามารถเปิดให้บริการได้ พัฒนาและเร่งผลักดันการก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายฉางซิ่งเต่าและเส้นทางรถไฟสายต้าเหลียนวาน
     การตรวจสอบระบบภายในท่าเรือต้าถงวาน การเริ่มระบบกำกับควบคุมบริเวณท่าเรือและระบบวิดีโอเพื่อการควบคุมความปลอดภัย เพื่อพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันของศูนย์การขนส่งระหว่างประเทศให้เข้มแข็งขึ้น
     ภายใต้การนำของรัฐบาลเพื่อกำหนดจุดยืนในการพัฒนาท่าเรือต้าเหลียนอย่างเป็นรูปธรรม การกำหนดหลักในการพัฒนาท่าเรือต้าเหลียน การกำหนดแนวทางพัฒนาของท่าเรือใหญ่และเล็กที่แน่นอน โดยได้จัดแผนการพัฒนาท่าเรือฉางซิ่งเต่า อ่าวหลี่ซุ่นซวงเต่า พื้นที่หยางโถวเจีย พื้นที่ท่าเรือจวงเหอ ภายใต้การควบคุมของท่าเรือต้าเหลียน  นอกจากนี้ยังต้องยึดแนวทางการพัฒนาที่ประกาศโดยสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยแผนพัฒนาศูนย์กลางการขนส่งแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ ท่าเรือต้าเหลียน เน้นความร่วมมือทางยุทธศาสตร์กับท่าเรือเหมียนโจว หูลูโจวอีกด้วย  ทั้งนี้บริษัทท่าเรือต้าเหลียนกรุ๊ปได้เข้าซื้อหุ้นท่าเรือเหมียนโจว โดยกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นอันดับสองของเหมียนโจว กรุ๊ป อีกด้วย  โดยท่าเรือทั้งสองแห่งยังได้ร่วมมือกันพัฒนาท่าเรือถ่านหินขนาด 500,000,000 ตัน  และร่วมพัฒนาควบคู่ไปกับท่าเรือตานตงอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อยึดท่าเรือต้าเหลียนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาอีกด้วย
     ท่าเรือต้าเหลียนจัดเป็นฐานการกระจายและเป็นโกดังจุดพักสินค้าเหลวและน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีน โดยมีท่าเรือขนส่งน้ำมันดิบที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดและขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศจีนซึ่งมีศักยภาพสามารถรองรับเรือบรรทุกสินค้ามากกว่า 300,000 ตัน มีเรือขนาดใหญ่สำหรับลำเลียง VCCL ที่มีศักยภาพรองรับกว่า 57,000,000ตันต่อปี ทั้งนี้ท่าเรือน้ำลึกขนส่งน้ำมันดิบแห่งใหม่ที่กำลังดำเนินการก่อสร้างอยู่นั้นมีระดับความลึกของน้ำที่ 27 เมตร สามารถจอดเรือบรรทุกน้ำมันขนาดใหญ่ 500,000 ตันได้
     ท่าเรือต้าเหลียนยังเป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าประเภทแร่ธาตุทางภาคเหนือของจีน โดยมีท่าเรือสำหรับรองรับเรือบรรทุกแร่ธาตุที่มีปริมาณ 300,000 ตัน ซึ่งจัดเป็นท่าเรือที่มีขนาดใหญ่และใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยแห่งหนึ่งของประเทศจีน โดยความลึกของน้ำที่ 23เมตร ท่าเรือสามารถจุได้ 6,000,000 ตัน สามารถลำเลียงสินค้าขึ้นฝั่งได้ที่ปริมาณ 7,000 ตันต่อชั่วโมง สามารถลำเลียงสินค้าลงเรือได้ 4,500 ตันต่อชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีศูนย์พักสินค้าผ่านทางและศูนย์สินค้าปลอดภาษี และมีการขยายขอบเขตการบริการไปจนถึงอ่าวป๋อไฮ่อีกด้วย (Bohai Bay)
     ท่าเรือต้าเหลียนเป็นศูนย์พักสินค้าผ่านประเภทเทกองที่มีความสำคัญแห่งหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โกดังสินค้าเพียงพอต่อการบรรจุ เครื่องจักรในการลำเลียงสินค้าที่มีความทันสมัย และลานสำหรับจัดวางสินค้า และการกำหนดสถานที่ของรถไฟ กำหนดเส้นทางรถไฟ และกำหนดขบวนรถไฟ เพื่อให้มีการเชื่อมต่อการขนส่งกับเรือบรรทุกสินค้าทางทะเล โดยพัฒนาเป็นระบบให้บริการด้านโลจิสติกส์ที่ครบวงจร โดยคาดว่าภายในปีพ.ศ.2553 จะสามารถรองรับปริมาณสินค้าได้ 30,000,000 ตัน
     ท่าเรือต้าเหลียนยังเป็นศูนย์กลางสำหรับสินค้าผ่านประเภทอาหารที่มีความสามารถในการแข่งขันสูงทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีน มีระบบคอมพิวเตอร์สำหรับควบคุมท่าเทียบเรือสินค้าเทกองประเภทอาหารที่รองรับเรือสินค้าขนาด 80,000 ตัน มีไซโลกว่า 100 แห่งสำหรับบรรจุสินค้าเทกองประเภทอาหารกว่า 800,000 ตัน โดยสามารถขนส่งสินค้าได้กว่า 1,000 ตันต่อชั่วโมง โดยมีศักยภาพในการลำเลียงสินค้าประเภทข้าวสารทั้งนำเข้าประมาณ 3,000,000 ตัน สินค้าข้าวสารส่งออกประมาณ 10,000,000 ตัน เพื่อให้บริการโลจิสติกส์อาหารประเภทเทกองได้อย่างเต็มรูปแบบ
     ท่าเรือต้าเหลียนยังเป็นศูนย์กลางการขนส่งแบบ Ro-pax บริเวณท่าเรือป๋อไฮ่ Seamless Transportation System of Ro-pax Vessels Around Bohai Sea และศูนย์กระจายรถยนต์ของเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีปริมาณผู้โดยสารต่อปี 6,000,000 คน และปริมาณขนส่งรถยนต์กว่า 1,000,000 คัน
     ปัจจุบันมีท่าเรือสำหรับรถยนต์  (Profession TerminalAutomotive) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศจีน สามารถรองรับเรือบรรทุกสินค้าประเภทรถยนต์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยคาดว่าจะสามารถรองรับปริมาณรถยนต์มากกว่า 760,000 คันต่อปี
     ท่าเรือต้าเหลียนมีการผลิตสินค้าภายในบริเวณท่าเรือได้แก่ การต่อเรือ การแปรรูปน้ำมัน การผลิตเครื่องจักร แปรรูปไม้ แปรรูปกระดาษ สิ่งทอ และอิเลคโทรนิค โดยท่าเรือต้าเหลียนจัดเป็นท่าเรือฐานการผลิตสิ่งทอที่ใหญ่เป็นอันดับ 1 ใน 7 ของประเทศจีน และฐานผลิตเสื้อผ้าใหญ่ใหญ่เป็นอันดับ 1 ใน 4 ของประเทศจีนอีกด้วย

ความสะดวกในการขนถ่ายสินค้า ทำเลที่ตั้ง
       อ้างตามแผนพัฒนาหลักของท่าเรือต้าเหลียนได้รับการอนุมัติทั้งจากกระทรวงคมนาคมและรัฐบาลมณฑลเหลียวหนิงในการพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการขนส่งระหว่างประเทศของเมืองต้าเหลียนซึ่งมีส่วนช่วยให้การขนส่งมาความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้แผนโลจิสติกส์รูปแบบใหม่ได้มีการปรับปรุงและแก้ไขโดยนำเอาแผนพัฒนาธุรกิจด้านโลจิสติกส์ในรูปแบบใหม่ของเมืองต้าเหลียนและแผนพัฒนาเฉพาะด้านโกดังสินค้าของเมืองต้าเหลียนออกมาเป็นวิธีการหลัก    รูปแบบข้อมูลข่าวสารโลจิสติกส์สาธารณะของเมืองต้าเหลียน เพื่อดำเนินแผนการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับพนักงานด้านโลจิสติกส์ สร้างความเข้มแข็งในการประสานและเชื่อมต่อกับสวนโลจิสติกส์ในเขตเมืองทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สร้างท่าเรือบกที่มีขนาดใหญ่ทีสุดในประเทศจีนให้แล้วเสร็จ ได้แก่สถานีสินค้าตะวันออกเมืองเสิ่นหยาง ท่าเรือบกฉางชุน ศูนย์กลางการกระจายสินค้าประเภทคอนเทนเนอร์ทางรถไฟเมืองฮาร์บิน ท่าเรือบกจี๋หลิน โดยเน้นการเชื่อมต่อกับ  14 ท่าเรือบกสำคัญในทิศตะวันออกเฉีบงเหนือของจีน เพิ่มปริมาณเส้นทางขนส่งคอนเทนเนอร์ระหว่างเมืองต้าเหลียน-เสิ่นหยาง ต้าเหลียน-ฉางชุน ต้าเหลียน-ฮาร์บิน ต้าเหลียน-หมานโจวและเส้นทางอื่นๆ อีกกว่า 7 เส้นทาง ทั้งนี้คาดการณ์ว่าจะมีปริมาณขนส่งสินค้าคอนเทนเนอร์ทางรถไฟกว่า 235,000 TEU เพิ่มขึ้นจากเดิม 30%
       ปัจจุบันท่าเรือต้าเหลียนมีความร่วมมือที่ดีกับท่าเรือในประเทศญี่ปุ่นได้แก่ท่าเรือโยโกฮามา ท่าเรือฟูชิกิ ท่าเรือประเทศสหรัฐอเมริกา โอคแลนด์ ท่าเรือฮูสตัน ท่าเรือประเทศแคนาดาเช่น ท่าเรือแวนคูเวอร์ ท่าเรือวาดิเวอร์สต็อค ประเทศรัสเซีย และท่าเรือในประเทศอาทิ ท่าเรือเซินเจิ้นเป็นต้น

 
สินค้านำเข้าและส่งออก
        ปัจจุบันสินค้าที่นำเข้าและส่งออกไปยังท่าเรือต้าเหลียนได้แก่ น้ำมัน เหล็กกล้า ข้าวโพด วัสดุก่อสร้างประเภทไม้ ถ่านหิน ธัญพืช เกลือ แร่ธาตุที่ยังไม่ได้แปรรูป โซดาบริสุทธิ์ และสินค้าอื่นๆ ได้แก่สินค้าอิเลคโทรนิค แร่ธาตุโลหะ สิ่งทอ วาล์ว  และสินค้าประเภทคอนเทนเนอร์ โดยสินค้าหลักของท่าเรือต้าเหลียนแบ่งเป็น 5 ประเภทใหญ่ได้แก่ น้ำมันดิบ อาหาร แร่โลหะ เหล็กกล้า และถ่านหิน

แหล่งทอ่งเที่อยวต้าเหลียน
จัตุรัสไห่จือยุ่น

สวนสาธาณเหล่าวหู่มีสาย 
ขนส่งนักทอ่งเที่ยวสายแรกของจีน   ประมาณ600เมตร



2010年12月18日星期六

ความยาวรถไฟของจีน

ความยาวรวมของ 76,600 กม. รถไฟของจีนที่สูงที่สุดในเอเชียได้ที่สาม
การย้ายถิ่นภายในใหญ่ที่สุดในโลกเกิดขึ้นในประเทศจีน : จาก 3 กุมภาพันธ์ -- 14 มีนาคม, คาดว่าจะมีมากกว่า 156 ล้านคนจะเดินทางโดยรถไฟกระแสรายวันของเกือบ 400 ล้าน
ในคลื่นของการไหลของผู้โดยสารนี้แบกหนักหน้าของรถไฟของจีนที่จะเป็นจุดเน้นของการให้ความสนใจ
โดยปกติแล้วนักท่องเที่ยวต่างชาติกล่าวว่าแบน, เงา, ถนนเรียบและสนามบิน

พวกเขามีโอกาสน้อยที่จะเดินทางโดยรถไฟของจีนและทำให้ความสำเร็จของการพัฒนาทางรถไฟมักจะเป็น underestimated

ในความเป็นจริงการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างพื้นฐานของจีนยังมีเขตทางรถไฟ, รายงานล่าสุดของธนาคารโลกจะถูกเรียกว่านวัตกรรมที่เกิดขึ้นในช่วง 10 ปีที่มา"การพัฒนามาก. น่าตื่นเต้นเพิ่มเติมเหตุการณ์ปัจจุบันใน : http://ssxl.blog.china.com
บทความ, เรื่อง"อินเดียและจีน 1992 - 2002, การพัฒนาถนนและทางรถไฟ,"หมายเหตุรายงานว่าในช่วงต้นทศวรรษที่ 90 ในศตวรรษที่ 20, โครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟของอินเดียในแง่ของระยะทางในระยะรวมและต่อหัวจะสูงกว่าจีน แต่ในภายหลัง 10 ปี, การสร้างเครือข่ายทางรถไฟในประเทศจีนมาทางด้านหลังข้อมูลเกือบทั้งหมดในประเทศอินเดียมากกว่า
ความยาวรวมของ 76,600 กม. รถไฟของจีนที่สูงที่สุดในเอเชียได้ที่สามหลังจากที่สหรัฐและรัสเซีย
ปีที่ผ่านมาจีนบัญชีการขนส่งทางรถไฟสำหรับการขนส่งทางรถไฟของโลกรวม, 25% ถึงแม้ว่ารถไฟจากการดำเนินงานระยะเพียง 6% ของระยะทางรวมทั้งหมดของโลก
สำหรับชาวจีนส่วนใหญ่ที่บินเกินความสามารถทางเศรษฐกิจของพวกเขา แต่ยุ่งยากเกินไปโดยรถยนต์ดังนั้นเมื่อรถไฟได้กลายเป็นตัวเลือกแรกสำหรับคนที่จะเดินทาง
นอกจากนี้พื้นที่ชายฝั่งทะเลที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อรถไฟเป็นวิธีหลักของสายน้ำที่ไม่รู้จบของพื้นที่ยากจนระยะไกลเพื่อการขนส่งภายในประเทศทุกชนิดเปิดโอกาสให้คนส่วนใหญ่
ในประเทศจีนพัฒนาอย่างรวดเร็วของการขนส่งทางรถไฟไม่สามารถตอบสนองความต้องการของชุมชน
ตามรายงานจากสื่อจีนผู้โดยสารรถไฟของจีนวันเท่านั้นสามารถให้ 2,410,000 ที่นั่ง แต่ต้องขาย 3,050,000 ตั๋ววันเป็นจำนวนมากของผู้โดยสารที่ยืนอยู่ทางเดินเท่านั้น จีนจะเข้าร่วม 81,000 กม. ทรานส์เอเชียขยายเครือข่ายรถไฟ 28 ประเทศ Unicom

 

ฉือจี้

369 01/2553
อารยธรรมตะวันตก อารยธรรมวัตถุไปต่อไม่ได้แล้วโดยไม่เกิดวิกฤติ ไม่มีทางอื่นที่มนุษย์จะรอดจากวิกฤตินอกจากปฏิวัติจิตสำนึกศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี ปาฐกถาพิเศษเรื่อง "ระบบการศึกษาที่แก้ความทุกข์ยากของคนทั้งแผ่นดิน" ในงานประชุมวิชาการประจำปีจิตตปัญญาศึกษา ครั้งที่ 2 ...
362 06/2552
การเดินทางจากโรงแรม Natures' Village ที่เมืองตาลิไซ (Talisay) ไปยังพิพิธภัณฑ์ชุมชนชายทะเลสำหรับเด็กเมืองซาไกนั้น ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง เนื่องจากเส้นทางกำลังก่อสร้าง ผู้ร่วมทางชาวฟิลิปปินส์หลายคน บ่นว่าทำไมไปตั้งพิพิธภัณฑ์เสียห่างไกล แล้วใครจะไปดู น่าจะตั้งอยู่ในเมืองใหญ่ ...
361 05/2552
"เมื่อก่อนที่ยังไม่ได้ทำงานกับผู้ติดเชื้อ รู้จักแต่คำว่า precaution (ระวังไว้ก่อน) คอยย้ำเตือนเกี่ยวกับการติดต่อการแพร่กระจายของโรค คิดแต่ว่าต้องแยกผู้ป่วยไว้ต่างหาก แม้แต่ผู้ป่วยเด็กติดเชื้อยังรู้สึกว่าต้องดูแลเขาต่างจากเด็กทั่วไป หลังจากได้มาทำงานตรงจุดนี้ ได้เข้าใจเรื่องโรค ...
361 05/2552
เด็กๆ อยากรู้อยากเห็น สนใจสิ่งต่างๆ ที่ซ่อนอยู่เบื้องหลัง อยากจับต้องดู แกะดู มีส่วนร่วมประเทศไทยมีพิพิธภัณฑ์เด็กแห่งแรกคือ พิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานคร ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2543 ตามพระราชปรารภของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ...
348 04/2551
นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพจิตอาสาพาสร้างสุข"ตั้งแต่มาทำงานจิตอาสาที่โรงพยาบาล ๖ เดือน รู้สึกว่าสุขภาพของตัวเองดีขึ้น น้ำหนักลดจาก ๗๕ กิโลกรัม เหลือ ๖๘ กิโลกรัม ความดัน ไขมันในเลือด ที่เคยสูงก็คุมได้เป็นปกติ กลางคืนนอนหลับสบาย ที่สำคัญคือใจเย็นลง มีความอดกลั้นมากขึ้น ...
346 02/2551
ร่วมด้วยช่วยกันเยียวยาโลก ธรรมสัญจร สู่มูลนิธิพุทธฉือจี้๑๖อรจิตต์  บำรุงสกุลสวัสดิ์พลังแห่งศรัทธา คือหลักประกันสุขภาพการศึกษาดูงานที่มูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวันในครั้งนี้ ถือว่าเป็นโอกาสดีที่สำคัญยิ่ง เนื่องจากมีท่านผู้ใหญ่ เช่น ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี ...
345 01/2551
ประเวศ วะสีร่วมด้วยช่วยกันเยียวยาโลก ธรรมสัญจร สู่มูลนิธิพุทธฉือจี้๑๕จันทพงษ์ วะสีคณะเดินทางเยี่ยมชมดูงานมูลนิธิพุทธฉือจี้* กลุ่มใหญ่ ประกอบด้วยผู้ดูงาน  ๓๒ ท่าน และอาสาสมัครอีก ๘ ท่าน นัดพบกันที่สนามบินดอนเมืองตั้งแต่ ๑๐.๓๐ น. ...
344 12/2550
ประเวศ วะสีร่วมด้วยช่วยกันเยียวยาโลกธรรมสัญจร สู่ มูลนิธิพุทธฉือจี้๑๔การแพทย์ด้วยหัวใจมนุษย์นายแพทย์ประเสริฐ  ผลิตผลการพิมพ์ตอนที่ ๑ ตามรอยพระโพธิสัตว์ครั้งนั้นได้มีภิกษุเป็นโรคท้องร่วงรูปหนึ่ง นอนจมอยู่กับกองอุจจาระปัสสาวะของตนเอง ไม่สามารถช่วยตนเองได้ ...
343 11/2550
ประเวศ วะสีร่วมด้วยช่วยกันเยียวยาโลกธรรมสัญจร สู่มูลนิธิพุทธฉือจี้๑๓ด้วยความกรุณาของอาจารย์หมอประเวศ วะสี ได้เป็นหัวหน้าคณะนำพวกเราลูกศิษย์ลูกหาไปเปิดโลกทัศน์ ปรับปรุงวิสัยทัศน์ จนเกิดการเปลี่ยนแปลงอัตวิสัยของตนเอง ไปสู่ความเข้าใจ ชีวิตมากขึ้น ด้วยมุมมองแบบพุทธมหายาน ...
342 10/2550
ประเวศ วะสีร่วมด้วยช่วยกันเยียวยาโลก ธรรมสัญจรสู่มูลนิธิพุทธฉือจี้๑๒       เขียนถึงการประชุมยามเช้าที่สมณาราม ทำให้นึกถึงการประชุมที่เรียกว่า morning report ในโรงพยาบาลที่ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ที่ผมเคยเป็นหัวหน้าภาควิชา ทุกเช้า ...

2010年11月14日星期日

ปัญหาของการขนส่งผู้โดยสาร สายการบิน Mexicana ของประเทศเม็กซิโกประสบปัญหาต้องปรับโครงสร้างทางการเงิน

บริษัท Mexicana de Aviacion เป็นสายการบินแห่งชาติของเม็กซิโก เป็นสายการบินที่มีประวัติยาวนานมาอันดับสามของโลก ก่อตั้งเมื่อปี 2464 ในขั้นเริ่มต้นเป็นสัมปทานเส้นทางการบินภายในประเทศให้กับรัฐบาลเม็กซิโก ขยายเป็นสายการบินภายในและระหว่างประเทศ เคยประสบปัญหาทางเงินสำคัญในปี 2511 และได้คลี่คลายปัญหาโดยการร่วมลงทุนของบริษัท Pan Am ของสหรัฐอเมริกาและในปี 2538 เมื่อประเทศเม็กซิโกประสบปัญหากับวิกฤตการณ์การเงิน ซึ่งส่งผลการลดค่าเงินเปโซอย่างรุนแรง รัฐบาลเม็กซิโกจึงได้เข้าไปยึดกิจการการบินของบริษัทฯ เป็นองค์กรของรัฐ (nationalized) โดยรวมกับสายการบินอีกสายของเม็กซิโกคือสายการบิน AeroMexico ต่อมาได้แปรสภาพกลับเป็นธุรกิจเอกชนในปี 2548 โดยมีการร่วมทุนจากกลุ่มลงทุน Grupo Posadas ซึ่งเป็นธุรกิจด้านการโรงแรมที่มีเครือข่ายโรงแรมสำคัญคือกลุ่มเครือข่าย Fiesta Americana ได้เข้าร่วมถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 30
ในปัจจุบันสายการบิน Mexicana มีเครื่องบินทั้งหมด 119 ลำและมีเส้นทางการบินทั้งหมด65 สาย สายสำคัญคือการขนส่งผู้โดยสารไปยังสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก นอกจากนี้แล้วยังมีเส้นทางการบินไปยังแคนาดา กลุ่มประเทศอเมริกากลาง แคริบเบียน ประเทศต่าง ๆ ในอเมริกาใต้ และในยุโรป สายการบิน Mexicana ได้เข้าร่วมเครือข่ายพันธมิตรสายการบินStar Alliance ในปี 2543 แต่ได้เปลี่ยนไปร่วมเครือข่าย One World เมื่อปี 2552 แทนโดยประเมินว่าสายการบิน Mexicana มียอดการขนส่งผู้โดยสารประมาณ 12 ล้านคนในปี2553 โดยคู่แข่งสำคัญคือสายการบิน Aeromexico ที่เป็นสายการบินภายในประเทศที่ครองตลาดภายในประเทศของเม็กซิโก รวมทั้งสายการบินต้นทุนต่ำใหม่อีกสองบริษัท คือVolaris และ Interjet ที่เริ่มการบินเมื่อปี 2548 และได้แย่งตลาดของ Mexicana ไปได้ถึงร้อยละ 10 ในปี 2552 Mexicana มีสัดส่วนการครองตลาดร้อยละ 22 ลดลงจากร้อยละ 32 ในปี 2548
Mexicana เริ่มประสบปัญหาทางการเงินตั้งแต่ปลายปี 2551 เมื่อวิกฤตการณ์การเงินของสหรัฐฯ ได้มีผลทำให้จำนวนผู้เดินทางลดลง และประสบกับในต้นปี 2552 การระบาดของไข้หวัด N1H1 ทำให้มีผู้โดยสารเดินทางมาเม็กซิโกน้อยลงมาก ซึ่งตลอดเป็นระยะเวลา 2-3 เดือนในช่วงเกิดวิกฤตทำให้รายได้ในปีนั้นลดลงไปเกือบครึ่งหนึ่งของรายได้ในปีที่มีการบินโดยปกติ ผนวกกับภาวะราคาน้ำมันที่แพงขึ้นในปีเดียวกัน ทำให้ Mexicana แบกภาระการขาดทุนติดต่อกันมา 2 ปี ภาระหนี้ในปัจจุบันมีมูลค่าประมาณ 796 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อต้นปี 2553 Mexicana ได้พยายามที่จะขายพันธบัตรตราสารหนี้มูลค่า 250 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ ต่อมาในเดือนกรกฏาคม 2553 ได้มีข่าวว่าบริษัท Mexicana อาจจะต้องแจ้งภาวะล้มละลายต่อศาลแพ่งเม็กซิโกเพื่อขอการปกป้องทรัพย์สินจากเจ้าหนี้และเพื่อเปิดทางให้มีการปรับโครงสร้างทางการเงินของบริษัท โดยเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2553 สายการบิน Canada ซึ่งได้เป็นผู้จ้างเช่าเครื่องบินและเส้นทางการบินจาก Montreal และ Calgary ได้สั่งระงับการบินและยึดเครื่องบิน 2 ลำที่ Mexicana ใช้อยู่ และได้เรียกร้องให้มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับภาวะทางการเงินของMexicana ในวันที่ 2 สิงหาคม 2553 สายการยิน Mexican ได้ประกาศระงับเส้นทางการบินระหว่างสหรัฐฯ และภายในประเทศเม็กซิโกหลายเส้นทาง เช่นระหว่างนครลอสแอนจิลิส. ถึงเมือง Puerto Vallarta เมือง Guadalajara และกรุงเม็กซิโก ซึ่งสำหรับกรุงเม็กซิโกมีการการลดเที่ยวบินจาก 6 เที่ยวเป็น 4 เที่ยวแทน นอกจากนี้แล้ว ในวันที่ 30 กรกฏาคม องค์กรบริหารการบินของสหรัฐฯ Federal Aviation Administration -FAA ได้ลดการจัดระดับความปลอดภัยของสายการบินจากเม็กซิโก โดยให้เหตุผลว่า มีการขาดคุณสมบัติบางประการของสายการบินเม็กซิโก ทั้งของสายการบิน Mexicana และสายการบินAeromexico ซึ่งมีผลในทางปฏิบัติห้ามไม่ให้สายการบินของเม็กซิโกขยายบริการในสหรัฐฯ รวมทั้งไม่สามารถใช้ code sharing กับสายการบินของสหรัฐฯ อีกด้วย
กฏหมายล้มละลายของเม็กซิโก (LCM) ได้มีการแก้ไขในปี 2550 เพื่อช่วยให้บริษัทที่ประสบปัญหาทางการเงินสามารถขอการปกป้องจากเจ้าหนี้ในช่วงระยะเวลาการปรับโครงสร้างทางการเงิน โดยศาลของเม็กซิโก จะดำเนินการพิจารณาอย่างรวดเร็วในระยะเวลาไม่กี่เดือนหากผู้ร้องขอมีการกำหนดแผนการปรับโครงสร้างทางการเงินที่ได้เจรจากับเจ้าหนี้ล่วงหน้าไว้แล้ว และได้มีบริษัทเม็กซิโกหลายแห่งที่ได้ขอสถานะภายใต้กฎหมายดังกล่าวรายที่ใหญ่ที่สุดคือเครือซุปเปอร์มาร์เก็ต Comercial Mexicana ที่ได้มีปัญหาหนี้มูลค่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ สืบเนื่องมาจากทำสัญญาซื้อขายเงินตราล่วงหน้าที่ไม่ได้คาดการณ์ถึงการลดค่าเงินเปโซประมาณร้อยละ 25 ในช่วงปี 2552
ในวันที่ 4 สิงหาคม 2553 ธนาคาร Bananorte ซึ่งเป็นธนาคารอันดับสามของเม็กซิโก ซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายหนึ่งของบริษัท Mexicana ได้แถลงข่าวว่า Mexicana มีภาระหนี้กับธนาคารBanorte ในจำนวน 156 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบเท่ากับร้อยละ 0.3 ของทรัพย์สินรวมของธนาคารฯ และคาดว่าปัญหาการเงินของ Mexicana จะไม่กระทบต่อการดำเนินการของ Banorte ซึ่งกำลังฟื้นตัวได้จากภาวะเศรษฐกิจซบเซาของสองปีที่ผ่านมา
แหล่งข่าวและข้อมูลเพิ่มเติม:
http://www.mexicana.com/
http://en.wikipedia.org/wiki/Mexicana_de_Aviaci%C3%B3n
http://www.businessweek.com/news/2010-08-02/mexicana-seeks-to-resolvecritical-financial-ills.html
http://www.reuters.com/article/idUSN2924804520100730
http://www.reuters.com/article/idUSN0316490620100203
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงเม็กซิโก
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เจิ้งเหอ

         


เส้นทางเดินเรือของเจิ้งเหอเริ่มต้นที่นครนานจิง จากนั้นแวะไปยังเมืองเหล่านี้คือ จามปา (Champa ตอนกลางของเวียดนาม) กัมพูชา (Cambodia กัมพูชา) สยาม (Siam ประเทศไทย) มะละกา (Malacca มาเลเซีย) ปาหัง (มาเลเซีย) กลันตัน (Kelantan มาเลเซีย) บอร์เนียว (Borneo เกาะบอร์เนียว หรือกาลิมันตัน) มัชฌปาหิต (Majapahit อาณาจักรฮินดูบนเกาะชวา อินโดนีเซีย) ซุนดา (Sunda เกาะชวา อินโดนีเซีย) ปาเล็มบัง (Palembang เกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย) เซมูดารา (Semudara เกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย) Aru (อินโดนีเซีย) แลมบรี (Lambri อินโดนีเซีย) Lide (อินโดนีเซีย) Batak (อินโดนีเซีย) ศรีลังกา (Ceylon) มัลดีฟส์ (Maldives มัลดีฟส์) กาลิกัท (Calicut อินเดีย) คีลอน (Quilon อินเดีย) มะละบาร์ (Malabar อินเดีย) ฮอร์มุซ (Hormuz เปอร์เซีย ปัจจุบันอยู่ใน อิหร่าน) โดฟา (Dhofar) เอเดน (Aden เยเมน) ซานา (Sana) มักกะฮฺ (Mecca ซาอุดิอารเบีย) มากาดิซู (Magadishu) บราวา (Brawa โซมาเลีย) มาลินดิ (Malindi เคนยา)

เปรียบเทียบกองเรือของเจิ้งเหอกับกองเรือของนักสำรวจชาวตะวันตก

เรือมหาสมบัติ หรือ เป่าฉวน อันเป็นเรือธงของเจิ้งเหอนั้น ตามบันทึกในสมัยราชวงศ์หมิงระบุว่า มีขนาดความยาวถึงลำละ 400 ฟุต กว้าง 160 ฟุต มี 9 เสากระโดงเรือ ในขบวนกองเรือประกอบไปด้วยเรือเสบียง เรือกำลังพล เรือรบ ฯลฯ รวมกว่า 300 ลำ ลูกเรือเกือบ 28,000 ชีวิต

หากนำเรือมหาสมบัติของจีนมาเปรียบเทียบกับเรือ ซานตา มาเรีย (Santa Maria) หรือเรือธงของ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus) นักเดินเรือชาวอิตาลี ผู้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ค้นพบโลกใหม่คือทวีปอเมริกา ในปี ค.ศ.1492 ซึ่งห่างจากปีที่กองเรือของเจิ้งเหอออกสำรวจมหาสมุทรครั้งแรกถึง 87 ปี เรือซานตา มาเรียของโคลัมบัส วีรบุรุษผู้ค้นพบโลกใหม่ ยังเล็กกว่าเรือมหาสมบัติของจีนถึง 4 เท่า โดยมีความยาวเพียง 85 ฟุต กว้าง 20 ฟุต มีกองเรือติดตาม 3 ลำ และลูกเรือ 87 คน

ต่อมาในปี ค.ศ.1498 วาสโก ดา กามา (Vasco Da Gama) นักเดินเรือชาวโปรตุเกส ได้ล่องเรืออ้อมแหลมกูดโฮปที่อาฟริกาใต้มาจนถึงชายฝั่งตะวันออก ระหว่างการเดินเรือไปยังอินเดียได้เป็นผลสำเร็จ กองเรือของเขาก็มีความยาวเพียง 85-100 ฟุต และลูกเรือ 265 คนเท่านั้น และในปี ค.ศ.1521 เฟอร์ดินันด์ แมคแจลลัน (Ferdinand Magallan) นักเดินเรือชาวโปรตุเกส เดินเรือมาถึงทะเลจีนใต้ ด้วยการเดินเรือมาทางตะวันตกเป็นครั้งแรก กองเรือของเขามีความยาวเพียง 100 ฟุต และมีลูกเรือเพียง 160 คน เท่านั้น

สินค้าและเครื่องบรรณาการ

กองเรือมหาสมบัติบรรทุกสินค้าเลื่องชื่อของจีน เช่น กระเบื้องลายคราม ผ้าไหม เครื่องเขิน และสิ่งของมีค่าต่างๆ เพื่อนำไปแลกเปลี่ยนกับสินค้าต่างแดนที่ประเทศจีนต้องการ เช่น งาช้าง นอแรด กระดองกระ ไม้หายาก เครื่องหอมเช่น กำยาน ยา ไข่มุก และหินมีค่าต่างๆ พร้อมด้วยเครื่องราชบรรณาการจากผู้ครองดินแดนต่างๆ กลับมาถวายแด่องค์จักรพรรดิที่นครนานจิง นอกจากนี้ยังนำสัตว์ต่างถิ่น เช่น สิงโต เสือดาว นกกระจอกเทศ ม้าลาย และยีราฟ (โดยบอกว่าเป็น กิเลน สัตว์มงคลในเทพนิยายจีน) กลับไปถวายด้วย ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบมาก และกลายเป็นของแปลกและน่าตื่นเต้นสำหรับชาวจีนที่พบเห็นเป็นครั้งแรก

ที่เมืองท่าของอาหรับ ชาวจีนมีความสนใจด้านยาและการบำบัดโรคของชาวอาหรับเป็นพิเศษกว่าอย่างอื่น หลังจากมีการพิมพ์หนังสือทางการแพทย์อาหรับในประเทศจีนที่ชื่อว่า หุยเหยาฟัง หรือ ตำรับยาชาวหุย หรือ ตำรับยาชาวจีนมุสลิม (Hui yao fang) ชาวจีนได้แลกเปลี่ยนผ้าไหมและเครื่องลายครามของตน กับสินค้าของพ่อค้าอาหรับดังต่อไปนี้คือ

1. ว่านหางจระเข้ ซึ่งใช้สำหรับทำความสะอาดและเป็นยาบำรุงกำลัง

2. myrrh เป็นยางไม้มีกลิ่นหอม เป็นยากันบูดของชาวอียิปต์โบราณ ที่ชาวจีนเชื่อว่าทำให้เลือดไหลเวียนดี ร่างกายกระปรี้กระเปร่าขึ้น

3. benzoin ยางไม้เหนียวกลิ่นหอมช่วยให้หายใจสะดวก

4. storax ยาแก้อักเสบ

5. mubietzi ยาสมุนไพรแก้แผล

2010年11月4日星期四

logisticsคืออะไร

ความหมายของการจัดการโลจิสติกส์
มีนักวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ให้ความหมายของคำว่า "การจัดการโลจิสติกส์ธุรกิจ (Business Logistics Management)" ไว้ต่าง ๆ นานามากมายในที่นี้ผู้เขียนขอคัดเลือกเฉพาะจาก Oak Brook, IL : Council of Logistic Management , 1993 ประเทศออสเตรเลียที่เห็นว่าชัดเจนและครอบคลุมเนื้อหาดีกล่าวคือ
การจัดการโลจิสติกส์ธุรกิจ หมายถึง กระบวนการวางแผน การปฏิบัติการและการควบคุม การเคลื่อนย้าย และการจัดเก็บสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมถึงการให้บริการและสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่จุดกำเนิดจนถึงจุดการบริโภคสินค้า เพื่อวัตถุประสงค์ในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า
Business Logistics Management is the Process of Planning, Implementing and Controlling the efficient , Effective flow and storage of Storage of Goods , Services and Related Information From Point of Origin to Point of Conforming to Customer Requirements
 
ประวัติความเป็นมาของโลจิสติกส์ อาจกล่าวได้ว่าเกิดขึ้นมาพร้อมกับการอุบัติขึ้นของมนุษย์บนโลกนี้ มนุษย์เป็นสัตว์สังคมอยู่กันเป็นกลุ่ม ชุมชน สังคม ประชาคมโลก ต่างต้องทำมาหากิน ไปมาหาสู่กัน แลกเปลี่ยนสินค้า วัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณี รวมทั้งมีการต่อสู้ศึกสงคราม เพื่อแย่งชิงการครอบครองทรัพยากรตามความปรารถนาของตน กิจกรรมการเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บทรัพยากรของมนุษย์ล้วนแล้ว แต่เป็นงานการจัดการโลจิสติกส์ทั้งสิ้น

การจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Mannagement) มีกำเนิดมาจากกองทัพอังกฤษก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 มีการจัดระบบการส่งกำลังบำรุงทางทหาร มีการสร้างสาธารณูปการ เช่น ถนน รถไฟ ท่าเรือ สนามบิน สถานที่จัดเก็บสินค้า รวมทั้งยานพาหนะที่ใช้ในการลำเรียงอาวุธยุทโธปกรณ์ การจัดการโลจิสติกส์มีการวิวัฒนาเรื่อยมาจนถึงปลายศตวรรษที่19 สหรัฐอเมริกาได้เริ่มมีการกระจายสินค้าด้านพืชผลทางการเกษตรก็มีการแลกเปลี่ยนสินค้าโภคภัณฑ์กันอย่างแพร่หลายทั่วทวีปอเมริกา ต่อมาประมาณปี ค.ศ. 1870 ก็มีการจัดรูปแบบการกระจายสินค้าด้านอุตสาหกรรมมาขึ้นเป็นลำดับ และในปี ค.ศ. 1961 ปีเตอร์ ดรักเกอร์ ได้แต่งตำราเรื่อง "The Economy's Dark Continent" ได้กล่าวถึงบทบาทสำคัญของการจัดการโลจิสติกส์ต่อระบบเศรษฐกิจโลกในยุคนั้น ต่อมาปี ค.ศ. 1964 ก็ได้เกิดศาสตร์ทางด้านการจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management Science) อย่างเป็นทางการขึ้นที่สหรัฐอเมริกา

ส่วนในภาคเอกชน ก็ได้นำเอาแนวคิดการจัดการโลจิสติกส์มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจให้เจริญก้าวหน้าสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน และแนวโน้มอนาคตก็ยิ่งจะมีบทบาทสำคัญมากขึ้นเป็นลำดับตามกระแสการแข่งขันของยุคโลกาภิวัฒน์



ประเภทของการจัดการโลจิสติกส์
การจัดการโลจิสติกส์สามารถแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ตามลักษณะของบทบาทหน้าที่มหภาคของประเทศได้ดังนี้
1. การจัดการโลจิสติกส์ด้านการทหาร
(Military Logistics Management)

หมายถึงการจัดการการจัดส่งกำลังบำรุงด้านการทหาร เช่น ยุทโธปกรณ์ ปัจจัยสี่ การรักษาพยาบาลและสารสนเทศ เพื่อมุ่งหวังชัยชนะทางทหารเป็นสำคัญ
2. การจัดการลอจิสติกส์ด้านวิศวกรรม
(Engineering Logistics Management)

หมายถึงการจัดการด้านการวิศวกรรมจัดส่งลำเรียง อันได้แก่การสร้าง การบูรณาการและการบำรุงรักษาสาธารณูปการ ทั้งระบบขนส่งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และทางท่อ ระบบการจัดเก็บและระบบสารสนเทศ เพื่อมุ่งหวังความพร้อมในระบบการจัดเก็บและการจัดส่งลำเรียงทั้งระบบเป็นสำคัญ
3. การจัดการโลจิสติกด้านธุรกิจ
(Business Logistics Management)

หมายถึงการจัดการด้านการจัดเก็บและจัดส่งสินค้า คน สัตว์ สิ่งของ จากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งตามที่มนุษย์ต้องการ เพื่อมุ่งหวังความสำเร็จทางธุรกิจเป็นสำคัญ



ความสำคัญของการจัดการโลจิสติกส์
"กองทัพเดินด้วยท้อง" เป็นคำพูดของแม่ทัพนโปเลียน โบนาปาร์ต แห่งฝรั่งเศส ระหว่างปี พ.ศ. 2312-2364 นับว่าเป็นคำกล่าวที่ยังใช้ได้อยู่ในโลกโลกาภิวัฒน์ปัจจุบัน ถ้าจะมองให้ลึกลงไปแล้ว การทำธุรกิจก็เปรียบเสมือนกับการทำสงคราม แต่เป็นสงครามเศรษฐกิจที่ทุกฝ่ายต้องการเป็นผู้ชนะ เพื่อจะได้มาซึ่งสิทธิการครอบครองทรัพยากรที่มากขึ้นและมากกว่าผู้อื่น การทำธุรกิจในยุคแห่งการแข่งขันที่ไร้พรมแดนนี้ไม่เพียงแต่จะต้องต่อสู้กับภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจที่กำลังโหมกระหนำเข้ามาทุกสารทิศ เรายังต้องต่อสู้กับคู่แข่งขันที่แข็งแกร่งทั้งในประเทศและต่างประเทศอีกด้วย และที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือ จะต้องสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ด้วยเหตุนี้เองจึงต้องมีระบบการจัดส่งกำลังบำรุง (Logistics System) ที่ทรงประสิทธิภาพไว้คอยสนับสนุนธุรกรรมขององค์การเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วยสินค้าแปลกใหม่ คุณภาพดี ราคายุติธรรม และบริการที่เป็นเลิศ

ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า เราจะจัดเก็บและจัดส่งพืชผลทางการเกษตรให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ตลอดตั้งแต่แหล่งผลิตจนถึงมือผู้บริโภค ทุกหนทุกแห่งทั้งในประเทศและต่างประเทศได้อย่างไร?

ผมเห็นว่าคำถามนี้เป็นความท้าทายถึงความอยู่รอดและความเจริญรุ่งเรืองของประเทศ ทั้งภาครัฐและเอกชนจะต้องตอบและร่วมกันคิดร่วมกันทำอย่างจริงจัง บูรณาการทั้งระบบภายในประเทศและต่างประเทศไทย (Global Logistics) รัฐจะต้องดำเนินการพัฒนาปรับปรุงทั้งระบบตังแต่พัฒนาบุคลากร ระบบสาธารณูปโภคและระบบสารสนเทศ ด้วยการปรับโครงสร้างหลักสูตรการศึกษาในระดับอุดมศึกษาให้มีคณะโลจิสติกส์ทุกมหาวิทยาลัย ตั้งแต่ระดับปริญญาตรีจนถึงปริญญาเอก มีระบบการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ผู้เรียนสามารถนำไปทำงานได้และขยายผลได้ มิใช่เรียนเพื่อรู้เท่านั้น รัฐมีการลงทุนในระบบสาธารณูปการโลจิสติกส์ทั้งระบบการขนส่งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศและทางท่อ ที่เชื่อมโยงกันทั้งประเทศ ลงทุนในระบบสารสนเทศที่เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายไปทั่วโลก เช่น โครงการ Truck Terminal, Global Transpark.



http://www.expert2you.com/view_question2.php?q_id=8035