2010年11月14日星期日

ปัญหาของการขนส่งผู้โดยสาร สายการบิน Mexicana ของประเทศเม็กซิโกประสบปัญหาต้องปรับโครงสร้างทางการเงิน

บริษัท Mexicana de Aviacion เป็นสายการบินแห่งชาติของเม็กซิโก เป็นสายการบินที่มีประวัติยาวนานมาอันดับสามของโลก ก่อตั้งเมื่อปี 2464 ในขั้นเริ่มต้นเป็นสัมปทานเส้นทางการบินภายในประเทศให้กับรัฐบาลเม็กซิโก ขยายเป็นสายการบินภายในและระหว่างประเทศ เคยประสบปัญหาทางเงินสำคัญในปี 2511 และได้คลี่คลายปัญหาโดยการร่วมลงทุนของบริษัท Pan Am ของสหรัฐอเมริกาและในปี 2538 เมื่อประเทศเม็กซิโกประสบปัญหากับวิกฤตการณ์การเงิน ซึ่งส่งผลการลดค่าเงินเปโซอย่างรุนแรง รัฐบาลเม็กซิโกจึงได้เข้าไปยึดกิจการการบินของบริษัทฯ เป็นองค์กรของรัฐ (nationalized) โดยรวมกับสายการบินอีกสายของเม็กซิโกคือสายการบิน AeroMexico ต่อมาได้แปรสภาพกลับเป็นธุรกิจเอกชนในปี 2548 โดยมีการร่วมทุนจากกลุ่มลงทุน Grupo Posadas ซึ่งเป็นธุรกิจด้านการโรงแรมที่มีเครือข่ายโรงแรมสำคัญคือกลุ่มเครือข่าย Fiesta Americana ได้เข้าร่วมถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 30
ในปัจจุบันสายการบิน Mexicana มีเครื่องบินทั้งหมด 119 ลำและมีเส้นทางการบินทั้งหมด65 สาย สายสำคัญคือการขนส่งผู้โดยสารไปยังสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก นอกจากนี้แล้วยังมีเส้นทางการบินไปยังแคนาดา กลุ่มประเทศอเมริกากลาง แคริบเบียน ประเทศต่าง ๆ ในอเมริกาใต้ และในยุโรป สายการบิน Mexicana ได้เข้าร่วมเครือข่ายพันธมิตรสายการบินStar Alliance ในปี 2543 แต่ได้เปลี่ยนไปร่วมเครือข่าย One World เมื่อปี 2552 แทนโดยประเมินว่าสายการบิน Mexicana มียอดการขนส่งผู้โดยสารประมาณ 12 ล้านคนในปี2553 โดยคู่แข่งสำคัญคือสายการบิน Aeromexico ที่เป็นสายการบินภายในประเทศที่ครองตลาดภายในประเทศของเม็กซิโก รวมทั้งสายการบินต้นทุนต่ำใหม่อีกสองบริษัท คือVolaris และ Interjet ที่เริ่มการบินเมื่อปี 2548 และได้แย่งตลาดของ Mexicana ไปได้ถึงร้อยละ 10 ในปี 2552 Mexicana มีสัดส่วนการครองตลาดร้อยละ 22 ลดลงจากร้อยละ 32 ในปี 2548
Mexicana เริ่มประสบปัญหาทางการเงินตั้งแต่ปลายปี 2551 เมื่อวิกฤตการณ์การเงินของสหรัฐฯ ได้มีผลทำให้จำนวนผู้เดินทางลดลง และประสบกับในต้นปี 2552 การระบาดของไข้หวัด N1H1 ทำให้มีผู้โดยสารเดินทางมาเม็กซิโกน้อยลงมาก ซึ่งตลอดเป็นระยะเวลา 2-3 เดือนในช่วงเกิดวิกฤตทำให้รายได้ในปีนั้นลดลงไปเกือบครึ่งหนึ่งของรายได้ในปีที่มีการบินโดยปกติ ผนวกกับภาวะราคาน้ำมันที่แพงขึ้นในปีเดียวกัน ทำให้ Mexicana แบกภาระการขาดทุนติดต่อกันมา 2 ปี ภาระหนี้ในปัจจุบันมีมูลค่าประมาณ 796 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อต้นปี 2553 Mexicana ได้พยายามที่จะขายพันธบัตรตราสารหนี้มูลค่า 250 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ ต่อมาในเดือนกรกฏาคม 2553 ได้มีข่าวว่าบริษัท Mexicana อาจจะต้องแจ้งภาวะล้มละลายต่อศาลแพ่งเม็กซิโกเพื่อขอการปกป้องทรัพย์สินจากเจ้าหนี้และเพื่อเปิดทางให้มีการปรับโครงสร้างทางการเงินของบริษัท โดยเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2553 สายการบิน Canada ซึ่งได้เป็นผู้จ้างเช่าเครื่องบินและเส้นทางการบินจาก Montreal และ Calgary ได้สั่งระงับการบินและยึดเครื่องบิน 2 ลำที่ Mexicana ใช้อยู่ และได้เรียกร้องให้มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับภาวะทางการเงินของMexicana ในวันที่ 2 สิงหาคม 2553 สายการยิน Mexican ได้ประกาศระงับเส้นทางการบินระหว่างสหรัฐฯ และภายในประเทศเม็กซิโกหลายเส้นทาง เช่นระหว่างนครลอสแอนจิลิส. ถึงเมือง Puerto Vallarta เมือง Guadalajara และกรุงเม็กซิโก ซึ่งสำหรับกรุงเม็กซิโกมีการการลดเที่ยวบินจาก 6 เที่ยวเป็น 4 เที่ยวแทน นอกจากนี้แล้ว ในวันที่ 30 กรกฏาคม องค์กรบริหารการบินของสหรัฐฯ Federal Aviation Administration -FAA ได้ลดการจัดระดับความปลอดภัยของสายการบินจากเม็กซิโก โดยให้เหตุผลว่า มีการขาดคุณสมบัติบางประการของสายการบินเม็กซิโก ทั้งของสายการบิน Mexicana และสายการบินAeromexico ซึ่งมีผลในทางปฏิบัติห้ามไม่ให้สายการบินของเม็กซิโกขยายบริการในสหรัฐฯ รวมทั้งไม่สามารถใช้ code sharing กับสายการบินของสหรัฐฯ อีกด้วย
กฏหมายล้มละลายของเม็กซิโก (LCM) ได้มีการแก้ไขในปี 2550 เพื่อช่วยให้บริษัทที่ประสบปัญหาทางการเงินสามารถขอการปกป้องจากเจ้าหนี้ในช่วงระยะเวลาการปรับโครงสร้างทางการเงิน โดยศาลของเม็กซิโก จะดำเนินการพิจารณาอย่างรวดเร็วในระยะเวลาไม่กี่เดือนหากผู้ร้องขอมีการกำหนดแผนการปรับโครงสร้างทางการเงินที่ได้เจรจากับเจ้าหนี้ล่วงหน้าไว้แล้ว และได้มีบริษัทเม็กซิโกหลายแห่งที่ได้ขอสถานะภายใต้กฎหมายดังกล่าวรายที่ใหญ่ที่สุดคือเครือซุปเปอร์มาร์เก็ต Comercial Mexicana ที่ได้มีปัญหาหนี้มูลค่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ สืบเนื่องมาจากทำสัญญาซื้อขายเงินตราล่วงหน้าที่ไม่ได้คาดการณ์ถึงการลดค่าเงินเปโซประมาณร้อยละ 25 ในช่วงปี 2552
ในวันที่ 4 สิงหาคม 2553 ธนาคาร Bananorte ซึ่งเป็นธนาคารอันดับสามของเม็กซิโก ซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายหนึ่งของบริษัท Mexicana ได้แถลงข่าวว่า Mexicana มีภาระหนี้กับธนาคารBanorte ในจำนวน 156 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบเท่ากับร้อยละ 0.3 ของทรัพย์สินรวมของธนาคารฯ และคาดว่าปัญหาการเงินของ Mexicana จะไม่กระทบต่อการดำเนินการของ Banorte ซึ่งกำลังฟื้นตัวได้จากภาวะเศรษฐกิจซบเซาของสองปีที่ผ่านมา
แหล่งข่าวและข้อมูลเพิ่มเติม:
http://www.mexicana.com/
http://en.wikipedia.org/wiki/Mexicana_de_Aviaci%C3%B3n
http://www.businessweek.com/news/2010-08-02/mexicana-seeks-to-resolvecritical-financial-ills.html
http://www.reuters.com/article/idUSN2924804520100730
http://www.reuters.com/article/idUSN0316490620100203
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงเม็กซิโก
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เจิ้งเหอ

         


เส้นทางเดินเรือของเจิ้งเหอเริ่มต้นที่นครนานจิง จากนั้นแวะไปยังเมืองเหล่านี้คือ จามปา (Champa ตอนกลางของเวียดนาม) กัมพูชา (Cambodia กัมพูชา) สยาม (Siam ประเทศไทย) มะละกา (Malacca มาเลเซีย) ปาหัง (มาเลเซีย) กลันตัน (Kelantan มาเลเซีย) บอร์เนียว (Borneo เกาะบอร์เนียว หรือกาลิมันตัน) มัชฌปาหิต (Majapahit อาณาจักรฮินดูบนเกาะชวา อินโดนีเซีย) ซุนดา (Sunda เกาะชวา อินโดนีเซีย) ปาเล็มบัง (Palembang เกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย) เซมูดารา (Semudara เกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย) Aru (อินโดนีเซีย) แลมบรี (Lambri อินโดนีเซีย) Lide (อินโดนีเซีย) Batak (อินโดนีเซีย) ศรีลังกา (Ceylon) มัลดีฟส์ (Maldives มัลดีฟส์) กาลิกัท (Calicut อินเดีย) คีลอน (Quilon อินเดีย) มะละบาร์ (Malabar อินเดีย) ฮอร์มุซ (Hormuz เปอร์เซีย ปัจจุบันอยู่ใน อิหร่าน) โดฟา (Dhofar) เอเดน (Aden เยเมน) ซานา (Sana) มักกะฮฺ (Mecca ซาอุดิอารเบีย) มากาดิซู (Magadishu) บราวา (Brawa โซมาเลีย) มาลินดิ (Malindi เคนยา)

เปรียบเทียบกองเรือของเจิ้งเหอกับกองเรือของนักสำรวจชาวตะวันตก

เรือมหาสมบัติ หรือ เป่าฉวน อันเป็นเรือธงของเจิ้งเหอนั้น ตามบันทึกในสมัยราชวงศ์หมิงระบุว่า มีขนาดความยาวถึงลำละ 400 ฟุต กว้าง 160 ฟุต มี 9 เสากระโดงเรือ ในขบวนกองเรือประกอบไปด้วยเรือเสบียง เรือกำลังพล เรือรบ ฯลฯ รวมกว่า 300 ลำ ลูกเรือเกือบ 28,000 ชีวิต

หากนำเรือมหาสมบัติของจีนมาเปรียบเทียบกับเรือ ซานตา มาเรีย (Santa Maria) หรือเรือธงของ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus) นักเดินเรือชาวอิตาลี ผู้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ค้นพบโลกใหม่คือทวีปอเมริกา ในปี ค.ศ.1492 ซึ่งห่างจากปีที่กองเรือของเจิ้งเหอออกสำรวจมหาสมุทรครั้งแรกถึง 87 ปี เรือซานตา มาเรียของโคลัมบัส วีรบุรุษผู้ค้นพบโลกใหม่ ยังเล็กกว่าเรือมหาสมบัติของจีนถึง 4 เท่า โดยมีความยาวเพียง 85 ฟุต กว้าง 20 ฟุต มีกองเรือติดตาม 3 ลำ และลูกเรือ 87 คน

ต่อมาในปี ค.ศ.1498 วาสโก ดา กามา (Vasco Da Gama) นักเดินเรือชาวโปรตุเกส ได้ล่องเรืออ้อมแหลมกูดโฮปที่อาฟริกาใต้มาจนถึงชายฝั่งตะวันออก ระหว่างการเดินเรือไปยังอินเดียได้เป็นผลสำเร็จ กองเรือของเขาก็มีความยาวเพียง 85-100 ฟุต และลูกเรือ 265 คนเท่านั้น และในปี ค.ศ.1521 เฟอร์ดินันด์ แมคแจลลัน (Ferdinand Magallan) นักเดินเรือชาวโปรตุเกส เดินเรือมาถึงทะเลจีนใต้ ด้วยการเดินเรือมาทางตะวันตกเป็นครั้งแรก กองเรือของเขามีความยาวเพียง 100 ฟุต และมีลูกเรือเพียง 160 คน เท่านั้น

สินค้าและเครื่องบรรณาการ

กองเรือมหาสมบัติบรรทุกสินค้าเลื่องชื่อของจีน เช่น กระเบื้องลายคราม ผ้าไหม เครื่องเขิน และสิ่งของมีค่าต่างๆ เพื่อนำไปแลกเปลี่ยนกับสินค้าต่างแดนที่ประเทศจีนต้องการ เช่น งาช้าง นอแรด กระดองกระ ไม้หายาก เครื่องหอมเช่น กำยาน ยา ไข่มุก และหินมีค่าต่างๆ พร้อมด้วยเครื่องราชบรรณาการจากผู้ครองดินแดนต่างๆ กลับมาถวายแด่องค์จักรพรรดิที่นครนานจิง นอกจากนี้ยังนำสัตว์ต่างถิ่น เช่น สิงโต เสือดาว นกกระจอกเทศ ม้าลาย และยีราฟ (โดยบอกว่าเป็น กิเลน สัตว์มงคลในเทพนิยายจีน) กลับไปถวายด้วย ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบมาก และกลายเป็นของแปลกและน่าตื่นเต้นสำหรับชาวจีนที่พบเห็นเป็นครั้งแรก

ที่เมืองท่าของอาหรับ ชาวจีนมีความสนใจด้านยาและการบำบัดโรคของชาวอาหรับเป็นพิเศษกว่าอย่างอื่น หลังจากมีการพิมพ์หนังสือทางการแพทย์อาหรับในประเทศจีนที่ชื่อว่า หุยเหยาฟัง หรือ ตำรับยาชาวหุย หรือ ตำรับยาชาวจีนมุสลิม (Hui yao fang) ชาวจีนได้แลกเปลี่ยนผ้าไหมและเครื่องลายครามของตน กับสินค้าของพ่อค้าอาหรับดังต่อไปนี้คือ

1. ว่านหางจระเข้ ซึ่งใช้สำหรับทำความสะอาดและเป็นยาบำรุงกำลัง

2. myrrh เป็นยางไม้มีกลิ่นหอม เป็นยากันบูดของชาวอียิปต์โบราณ ที่ชาวจีนเชื่อว่าทำให้เลือดไหลเวียนดี ร่างกายกระปรี้กระเปร่าขึ้น

3. benzoin ยางไม้เหนียวกลิ่นหอมช่วยให้หายใจสะดวก

4. storax ยาแก้อักเสบ

5. mubietzi ยาสมุนไพรแก้แผล

2010年11月4日星期四

logisticsคืออะไร

ความหมายของการจัดการโลจิสติกส์
มีนักวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ให้ความหมายของคำว่า "การจัดการโลจิสติกส์ธุรกิจ (Business Logistics Management)" ไว้ต่าง ๆ นานามากมายในที่นี้ผู้เขียนขอคัดเลือกเฉพาะจาก Oak Brook, IL : Council of Logistic Management , 1993 ประเทศออสเตรเลียที่เห็นว่าชัดเจนและครอบคลุมเนื้อหาดีกล่าวคือ
การจัดการโลจิสติกส์ธุรกิจ หมายถึง กระบวนการวางแผน การปฏิบัติการและการควบคุม การเคลื่อนย้าย และการจัดเก็บสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมถึงการให้บริการและสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่จุดกำเนิดจนถึงจุดการบริโภคสินค้า เพื่อวัตถุประสงค์ในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า
Business Logistics Management is the Process of Planning, Implementing and Controlling the efficient , Effective flow and storage of Storage of Goods , Services and Related Information From Point of Origin to Point of Conforming to Customer Requirements
 
ประวัติความเป็นมาของโลจิสติกส์ อาจกล่าวได้ว่าเกิดขึ้นมาพร้อมกับการอุบัติขึ้นของมนุษย์บนโลกนี้ มนุษย์เป็นสัตว์สังคมอยู่กันเป็นกลุ่ม ชุมชน สังคม ประชาคมโลก ต่างต้องทำมาหากิน ไปมาหาสู่กัน แลกเปลี่ยนสินค้า วัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณี รวมทั้งมีการต่อสู้ศึกสงคราม เพื่อแย่งชิงการครอบครองทรัพยากรตามความปรารถนาของตน กิจกรรมการเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บทรัพยากรของมนุษย์ล้วนแล้ว แต่เป็นงานการจัดการโลจิสติกส์ทั้งสิ้น

การจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Mannagement) มีกำเนิดมาจากกองทัพอังกฤษก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 มีการจัดระบบการส่งกำลังบำรุงทางทหาร มีการสร้างสาธารณูปการ เช่น ถนน รถไฟ ท่าเรือ สนามบิน สถานที่จัดเก็บสินค้า รวมทั้งยานพาหนะที่ใช้ในการลำเรียงอาวุธยุทโธปกรณ์ การจัดการโลจิสติกส์มีการวิวัฒนาเรื่อยมาจนถึงปลายศตวรรษที่19 สหรัฐอเมริกาได้เริ่มมีการกระจายสินค้าด้านพืชผลทางการเกษตรก็มีการแลกเปลี่ยนสินค้าโภคภัณฑ์กันอย่างแพร่หลายทั่วทวีปอเมริกา ต่อมาประมาณปี ค.ศ. 1870 ก็มีการจัดรูปแบบการกระจายสินค้าด้านอุตสาหกรรมมาขึ้นเป็นลำดับ และในปี ค.ศ. 1961 ปีเตอร์ ดรักเกอร์ ได้แต่งตำราเรื่อง "The Economy's Dark Continent" ได้กล่าวถึงบทบาทสำคัญของการจัดการโลจิสติกส์ต่อระบบเศรษฐกิจโลกในยุคนั้น ต่อมาปี ค.ศ. 1964 ก็ได้เกิดศาสตร์ทางด้านการจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management Science) อย่างเป็นทางการขึ้นที่สหรัฐอเมริกา

ส่วนในภาคเอกชน ก็ได้นำเอาแนวคิดการจัดการโลจิสติกส์มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจให้เจริญก้าวหน้าสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน และแนวโน้มอนาคตก็ยิ่งจะมีบทบาทสำคัญมากขึ้นเป็นลำดับตามกระแสการแข่งขันของยุคโลกาภิวัฒน์



ประเภทของการจัดการโลจิสติกส์
การจัดการโลจิสติกส์สามารถแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ตามลักษณะของบทบาทหน้าที่มหภาคของประเทศได้ดังนี้
1. การจัดการโลจิสติกส์ด้านการทหาร
(Military Logistics Management)

หมายถึงการจัดการการจัดส่งกำลังบำรุงด้านการทหาร เช่น ยุทโธปกรณ์ ปัจจัยสี่ การรักษาพยาบาลและสารสนเทศ เพื่อมุ่งหวังชัยชนะทางทหารเป็นสำคัญ
2. การจัดการลอจิสติกส์ด้านวิศวกรรม
(Engineering Logistics Management)

หมายถึงการจัดการด้านการวิศวกรรมจัดส่งลำเรียง อันได้แก่การสร้าง การบูรณาการและการบำรุงรักษาสาธารณูปการ ทั้งระบบขนส่งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และทางท่อ ระบบการจัดเก็บและระบบสารสนเทศ เพื่อมุ่งหวังความพร้อมในระบบการจัดเก็บและการจัดส่งลำเรียงทั้งระบบเป็นสำคัญ
3. การจัดการโลจิสติกด้านธุรกิจ
(Business Logistics Management)

หมายถึงการจัดการด้านการจัดเก็บและจัดส่งสินค้า คน สัตว์ สิ่งของ จากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งตามที่มนุษย์ต้องการ เพื่อมุ่งหวังความสำเร็จทางธุรกิจเป็นสำคัญ



ความสำคัญของการจัดการโลจิสติกส์
"กองทัพเดินด้วยท้อง" เป็นคำพูดของแม่ทัพนโปเลียน โบนาปาร์ต แห่งฝรั่งเศส ระหว่างปี พ.ศ. 2312-2364 นับว่าเป็นคำกล่าวที่ยังใช้ได้อยู่ในโลกโลกาภิวัฒน์ปัจจุบัน ถ้าจะมองให้ลึกลงไปแล้ว การทำธุรกิจก็เปรียบเสมือนกับการทำสงคราม แต่เป็นสงครามเศรษฐกิจที่ทุกฝ่ายต้องการเป็นผู้ชนะ เพื่อจะได้มาซึ่งสิทธิการครอบครองทรัพยากรที่มากขึ้นและมากกว่าผู้อื่น การทำธุรกิจในยุคแห่งการแข่งขันที่ไร้พรมแดนนี้ไม่เพียงแต่จะต้องต่อสู้กับภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจที่กำลังโหมกระหนำเข้ามาทุกสารทิศ เรายังต้องต่อสู้กับคู่แข่งขันที่แข็งแกร่งทั้งในประเทศและต่างประเทศอีกด้วย และที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือ จะต้องสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ด้วยเหตุนี้เองจึงต้องมีระบบการจัดส่งกำลังบำรุง (Logistics System) ที่ทรงประสิทธิภาพไว้คอยสนับสนุนธุรกรรมขององค์การเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วยสินค้าแปลกใหม่ คุณภาพดี ราคายุติธรรม และบริการที่เป็นเลิศ

ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า เราจะจัดเก็บและจัดส่งพืชผลทางการเกษตรให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ตลอดตั้งแต่แหล่งผลิตจนถึงมือผู้บริโภค ทุกหนทุกแห่งทั้งในประเทศและต่างประเทศได้อย่างไร?

ผมเห็นว่าคำถามนี้เป็นความท้าทายถึงความอยู่รอดและความเจริญรุ่งเรืองของประเทศ ทั้งภาครัฐและเอกชนจะต้องตอบและร่วมกันคิดร่วมกันทำอย่างจริงจัง บูรณาการทั้งระบบภายในประเทศและต่างประเทศไทย (Global Logistics) รัฐจะต้องดำเนินการพัฒนาปรับปรุงทั้งระบบตังแต่พัฒนาบุคลากร ระบบสาธารณูปโภคและระบบสารสนเทศ ด้วยการปรับโครงสร้างหลักสูตรการศึกษาในระดับอุดมศึกษาให้มีคณะโลจิสติกส์ทุกมหาวิทยาลัย ตั้งแต่ระดับปริญญาตรีจนถึงปริญญาเอก มีระบบการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ผู้เรียนสามารถนำไปทำงานได้และขยายผลได้ มิใช่เรียนเพื่อรู้เท่านั้น รัฐมีการลงทุนในระบบสาธารณูปการโลจิสติกส์ทั้งระบบการขนส่งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศและทางท่อ ที่เชื่อมโยงกันทั้งประเทศ ลงทุนในระบบสารสนเทศที่เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายไปทั่วโลก เช่น โครงการ Truck Terminal, Global Transpark.



http://www.expert2you.com/view_question2.php?q_id=8035