2010年11月4日星期四

logisticsคืออะไร

ความหมายของการจัดการโลจิสติกส์
มีนักวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ให้ความหมายของคำว่า "การจัดการโลจิสติกส์ธุรกิจ (Business Logistics Management)" ไว้ต่าง ๆ นานามากมายในที่นี้ผู้เขียนขอคัดเลือกเฉพาะจาก Oak Brook, IL : Council of Logistic Management , 1993 ประเทศออสเตรเลียที่เห็นว่าชัดเจนและครอบคลุมเนื้อหาดีกล่าวคือ
การจัดการโลจิสติกส์ธุรกิจ หมายถึง กระบวนการวางแผน การปฏิบัติการและการควบคุม การเคลื่อนย้าย และการจัดเก็บสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมถึงการให้บริการและสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่จุดกำเนิดจนถึงจุดการบริโภคสินค้า เพื่อวัตถุประสงค์ในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า
Business Logistics Management is the Process of Planning, Implementing and Controlling the efficient , Effective flow and storage of Storage of Goods , Services and Related Information From Point of Origin to Point of Conforming to Customer Requirements
 
ประวัติความเป็นมาของโลจิสติกส์ อาจกล่าวได้ว่าเกิดขึ้นมาพร้อมกับการอุบัติขึ้นของมนุษย์บนโลกนี้ มนุษย์เป็นสัตว์สังคมอยู่กันเป็นกลุ่ม ชุมชน สังคม ประชาคมโลก ต่างต้องทำมาหากิน ไปมาหาสู่กัน แลกเปลี่ยนสินค้า วัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณี รวมทั้งมีการต่อสู้ศึกสงคราม เพื่อแย่งชิงการครอบครองทรัพยากรตามความปรารถนาของตน กิจกรรมการเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บทรัพยากรของมนุษย์ล้วนแล้ว แต่เป็นงานการจัดการโลจิสติกส์ทั้งสิ้น

การจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Mannagement) มีกำเนิดมาจากกองทัพอังกฤษก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 มีการจัดระบบการส่งกำลังบำรุงทางทหาร มีการสร้างสาธารณูปการ เช่น ถนน รถไฟ ท่าเรือ สนามบิน สถานที่จัดเก็บสินค้า รวมทั้งยานพาหนะที่ใช้ในการลำเรียงอาวุธยุทโธปกรณ์ การจัดการโลจิสติกส์มีการวิวัฒนาเรื่อยมาจนถึงปลายศตวรรษที่19 สหรัฐอเมริกาได้เริ่มมีการกระจายสินค้าด้านพืชผลทางการเกษตรก็มีการแลกเปลี่ยนสินค้าโภคภัณฑ์กันอย่างแพร่หลายทั่วทวีปอเมริกา ต่อมาประมาณปี ค.ศ. 1870 ก็มีการจัดรูปแบบการกระจายสินค้าด้านอุตสาหกรรมมาขึ้นเป็นลำดับ และในปี ค.ศ. 1961 ปีเตอร์ ดรักเกอร์ ได้แต่งตำราเรื่อง "The Economy's Dark Continent" ได้กล่าวถึงบทบาทสำคัญของการจัดการโลจิสติกส์ต่อระบบเศรษฐกิจโลกในยุคนั้น ต่อมาปี ค.ศ. 1964 ก็ได้เกิดศาสตร์ทางด้านการจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management Science) อย่างเป็นทางการขึ้นที่สหรัฐอเมริกา

ส่วนในภาคเอกชน ก็ได้นำเอาแนวคิดการจัดการโลจิสติกส์มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจให้เจริญก้าวหน้าสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน และแนวโน้มอนาคตก็ยิ่งจะมีบทบาทสำคัญมากขึ้นเป็นลำดับตามกระแสการแข่งขันของยุคโลกาภิวัฒน์



ประเภทของการจัดการโลจิสติกส์
การจัดการโลจิสติกส์สามารถแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ตามลักษณะของบทบาทหน้าที่มหภาคของประเทศได้ดังนี้
1. การจัดการโลจิสติกส์ด้านการทหาร
(Military Logistics Management)

หมายถึงการจัดการการจัดส่งกำลังบำรุงด้านการทหาร เช่น ยุทโธปกรณ์ ปัจจัยสี่ การรักษาพยาบาลและสารสนเทศ เพื่อมุ่งหวังชัยชนะทางทหารเป็นสำคัญ
2. การจัดการลอจิสติกส์ด้านวิศวกรรม
(Engineering Logistics Management)

หมายถึงการจัดการด้านการวิศวกรรมจัดส่งลำเรียง อันได้แก่การสร้าง การบูรณาการและการบำรุงรักษาสาธารณูปการ ทั้งระบบขนส่งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และทางท่อ ระบบการจัดเก็บและระบบสารสนเทศ เพื่อมุ่งหวังความพร้อมในระบบการจัดเก็บและการจัดส่งลำเรียงทั้งระบบเป็นสำคัญ
3. การจัดการโลจิสติกด้านธุรกิจ
(Business Logistics Management)

หมายถึงการจัดการด้านการจัดเก็บและจัดส่งสินค้า คน สัตว์ สิ่งของ จากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งตามที่มนุษย์ต้องการ เพื่อมุ่งหวังความสำเร็จทางธุรกิจเป็นสำคัญ



ความสำคัญของการจัดการโลจิสติกส์
"กองทัพเดินด้วยท้อง" เป็นคำพูดของแม่ทัพนโปเลียน โบนาปาร์ต แห่งฝรั่งเศส ระหว่างปี พ.ศ. 2312-2364 นับว่าเป็นคำกล่าวที่ยังใช้ได้อยู่ในโลกโลกาภิวัฒน์ปัจจุบัน ถ้าจะมองให้ลึกลงไปแล้ว การทำธุรกิจก็เปรียบเสมือนกับการทำสงคราม แต่เป็นสงครามเศรษฐกิจที่ทุกฝ่ายต้องการเป็นผู้ชนะ เพื่อจะได้มาซึ่งสิทธิการครอบครองทรัพยากรที่มากขึ้นและมากกว่าผู้อื่น การทำธุรกิจในยุคแห่งการแข่งขันที่ไร้พรมแดนนี้ไม่เพียงแต่จะต้องต่อสู้กับภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจที่กำลังโหมกระหนำเข้ามาทุกสารทิศ เรายังต้องต่อสู้กับคู่แข่งขันที่แข็งแกร่งทั้งในประเทศและต่างประเทศอีกด้วย และที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือ จะต้องสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ด้วยเหตุนี้เองจึงต้องมีระบบการจัดส่งกำลังบำรุง (Logistics System) ที่ทรงประสิทธิภาพไว้คอยสนับสนุนธุรกรรมขององค์การเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วยสินค้าแปลกใหม่ คุณภาพดี ราคายุติธรรม และบริการที่เป็นเลิศ

ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า เราจะจัดเก็บและจัดส่งพืชผลทางการเกษตรให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ตลอดตั้งแต่แหล่งผลิตจนถึงมือผู้บริโภค ทุกหนทุกแห่งทั้งในประเทศและต่างประเทศได้อย่างไร?

ผมเห็นว่าคำถามนี้เป็นความท้าทายถึงความอยู่รอดและความเจริญรุ่งเรืองของประเทศ ทั้งภาครัฐและเอกชนจะต้องตอบและร่วมกันคิดร่วมกันทำอย่างจริงจัง บูรณาการทั้งระบบภายในประเทศและต่างประเทศไทย (Global Logistics) รัฐจะต้องดำเนินการพัฒนาปรับปรุงทั้งระบบตังแต่พัฒนาบุคลากร ระบบสาธารณูปโภคและระบบสารสนเทศ ด้วยการปรับโครงสร้างหลักสูตรการศึกษาในระดับอุดมศึกษาให้มีคณะโลจิสติกส์ทุกมหาวิทยาลัย ตั้งแต่ระดับปริญญาตรีจนถึงปริญญาเอก มีระบบการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ผู้เรียนสามารถนำไปทำงานได้และขยายผลได้ มิใช่เรียนเพื่อรู้เท่านั้น รัฐมีการลงทุนในระบบสาธารณูปการโลจิสติกส์ทั้งระบบการขนส่งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศและทางท่อ ที่เชื่อมโยงกันทั้งประเทศ ลงทุนในระบบสารสนเทศที่เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายไปทั่วโลก เช่น โครงการ Truck Terminal, Global Transpark.



http://www.expert2you.com/view_question2.php?q_id=8035

2 条评论:

  1. -จัดคั่นหน้า-หลังและหารูปประกอบด้วย
    - ประโยคนี้ "ผมเห็นว่าคำถามนี้เป็นความท้าทายถึงความ..." ถ้าไม่ได้เขียนเองก็ตัดคำว่า "ผมเห็นว่า" ทิ้งไปเสีย

    回复删除
  2. ขอบคุณค่ะอาจารย์

    回复删除